แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อบ้านศรีดอนชัย ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อบ้านศรีดอนชัยตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายแกมไหม รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินโครงการจากการลงทุน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จาก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงได้ทั้งสิ้น 39 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผ้าทอฯใช้กลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดโดยกลุ่มร่วมกันออกแบบลวดลายใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน คือ ลายดอกแก้ว 2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน ลดต้นทุนโดยการลดลวดลายที่ซับซ้อนแต่ยังคงรักษาคุณค่าและคุณภาพ 3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข อบรมการคำนวณต้นทุนและผลตอบแทน รวมทั้งการตั้งราคา และ4) กลยุทธ์เชิงรับ อบรมการออกแบบและถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยจดบันทึกลวดลายด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบและถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไป เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่าผ้าซิ่นมีต้นทุน 5,061.18 บาท/ผืน มีกำไร2,838.82 บาท/ผืน ส่วนผ้าคลุมไหล่มีต้นทุน 3,278.89 บาท/ผืน มีกำไร 1,221.11 บาท/ผืน ส่วนการประเมินโครงการ พบว่า โครงการนี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาในวารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ สามารถนำผลงานไปใช้เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไร
References
Chemsripong, S. & Petmee, P. (2017). Creating Value Added Products from Local Wisdom:A Case Study of the Ancient Clot. Journal of Community Development Research (Humanity and Social Sciences), 10(4), 62-85.
Chudhavipata, W. (2012). Textile: Reflection of Thai Traditions. Bangkok: Dhurakij Pundit University
Dononbao, C. & Peerasan, J. (2019). Innovation of Development in the HandWoven Cotton of the Local Identity in Loei Province. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 12(2), 23-42.
Jonpradit, S., Pongyeela, A. & Visalaporn, S. (2014). The Influence of Applying Creative Economy Concept, Factors Driving Creative Economy and Characteristics of Entrepreneurs to Market Success of Five Stars One Tambon One Product (OTOP) in Thailand. Suthiparithat, 28(88), 170-195.
Keativipak, K. (2016). Study and Development Applies Products from Cotton Hand Made to Products Design,Case Study : The Cotton Hand Weaving Groups at Donluang Village, Amphur Pasang, Lamphun Province. The Fine & Applied Arts Journal,11(1), 13-52
Mega, S., thanasripanitchai, P., Sangtamat, P. and Sanitchon, K. (2023). Financial Cost-benefit Analysis of Dong Yang-Pornpiboon village’s Indigo dyed Mudmee textile. Journal of Sustainable Tourism Development, 5(1), 93-111.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2009). The Creative Economy. Bangkok: B C Press (Boonchin) Company Limited.
Phadoongsitthi, M. (2019). Cost Accounting (8nd ed). Bangkok: Thammasat University.
Sittioum, R., Jaithong, C., Somsi, K., Chaisomtakuland, P. & Wilaikul, S. (2022). Costs and Returns on Products from Thai-Yuan Woven Fabric of Thai-Yuan Cultural Center in Ban Dong Pradok, Samor khae subdistrict, Mueang District, Phitsanulok Province. Academy Journal of Northern, 9(4), 94-107.
Suksai, L., Hoksuwan, S., Phungphet, S. & Jedaman, P. (2021). Development to Sustainable Community Potential of Local Wisdoms Productive “Native Silk” Based on Sufficiency Economy & Creative Economy of Chaiyaphum Province Communities. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(7), 382-398.
Sunthorncharoennon, W. (2014). Creating a creative product or service is not as difficult as you think. Retrieved from http://www.amexteam.com/resources/helper/editor/upload/knowledge/1/01_pdf