เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความแล้วจะทำการแจ้งไปยังผู้ส่งบทความ
  • กองบรรณาธิการจะตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความว่ามีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของวารสารหรือไม่ รวมถึงประโยชน์ของบทความนั้นๆ ว่านำไปใช้กับผู้อ่านหรือไม่ทั้งในเชิงทฤษฎีและการประยุกต์เพื่อนำไปใช้
  • เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณากลั่นกรองขั้นแรกแล้วก็จะนำส่งไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ เพื่อพิจารณาไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ว่าบทความนั้นๆ มีคุณภาพและเหมาะสมในการลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งการพิจารณาบทความนั้นผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ และผู้ส่งบทความก็จะไม่ทราบข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิเช่นกัน (Double-Blind Process)
  • เมื่อบทความผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบผลของการพิจารณา โดยจะอ้างอิงตามข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิว่าสมควรลงตีพิมพ์ในวารสารหรือไม่ สำหรับในกรณีที่มีการเสนอให้ผู้ส่งบทความมีการแก้ไข ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป
  • ท่านสามารถส่งบทความต้นฉบับได้โดย บทความภาษาไทย พิมพ์ด้วยฟอนท์ Angsana New ขนาด 16 พอยน์ บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยฟอนท์ Angsana New ขนาด 16 พอยน์ โดยสามารถส่งอีเมล์ในรูปของไฟล์ Microsoft Word

องค์ประกอบของบทความ มีรายละเอียด ดังนี้

บทความวิชาการ (Academic Article) และบทความวิจัย (Research Article) ประกอบด้วย

  1. ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ในกรณีที่บทความเนื้อหาเป็นภาอังกฤษทั้งหมดไม่ต้องมีชื่อเรื่องเป็นภาษาไทย)
  2. ชื่อผู้เขียน [Author (s)] ใช้ชื่อเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุสถานที่ทำงานหรือสถานที่ศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งข้อมูลที่ติดต่อได้ เช่น เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ติดต่อ โดยให้เขียนต่อจากชื่อเรื่อง (ในกรณีที่บทความเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดไม่ต้องมีชื่อผู้เขียนเป็นภาษาไทย)
  3. บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่สรุปสาระสำคัญของบทความไว้ครบถ้วนและควรมีความยาวไม่เกิน 250 คำ (ในกรณีที่บทความเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดไม่ต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทย)
  4. คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนไม่เกิน 5 คำ และระบุไว้ท้ายบทคัดย่อ (ในกรณีที่บทความเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดไม่ต้องมีคำสำคัญเป็นภาษาไทย)
  5. เนื้อหา (Contents)                                                                                                                            บทความวิชาการ (Academic Article) ควรประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี                                                                       - บทนำ (Introduction)                                                                                                                                 - สาระในประเด็นต่างๆ (Contents)                                                                                                                 - อภิปรายและสรุป (Discussion/Conclusion)                                                                                               - เอกสารอ้างอิง (References)                                                                                                            บทความวิจัย (Research Article) ควรประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้                                                                             - บทนำ (Introduction) โดยครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหารวมทั้งเสนอภาพรวมของบทความ                                                                                                                                                                     - บททวนวรรณกรรม (Literature Review)                                                                                                     - วิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่สามารถอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย รวมถึงการเก็บข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน                                                                                                              - ผลการศึกษา (Research Finding)                                                                                                              - อภิปรายและสรุป (Discussion/Conclusion)                                                                                              - เอกสารอ้างอิง (References)
  6. เอกสารอ้างอิง (References)

บทความทุกบทความที่ส่งมายังวารสารเพื่อพิจารณาทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องเขียนอ้างอิงเอกสารหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในตอนท้ายของบทความเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และให้เขียนในรูปแบบของ APA (American Psychology Association) โดยผู้ส่งบทความต้องตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนอ้างอิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ บทความใดที่มีรูปแบบการอ้างอิงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาการประเมินบทความในขั้นตอนถัดไป

ตัวอย่างการอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ APA ได้แก่

การอ้างอิงชื่อบทความในวารสาร

* หลักเกณฑ์

Surname, initial. (year). title. journal name, volume, page number.

(นามสกุล, ชื่อย่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ฉบับที่, เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.)

* ตัวอย่าง

Fornell, C. & Larcker, D.F. (1981). Evaluating Structural Equation Models With Unobservable Variables and Measure. Journal of Marketing Research, 18, 39-50.

 

การอ้างอิงชื่อหนังสือ

* หลักเกณฑ์

Surname, initial. (year). title. place of publication: publisher.

(นามสกุล, ชื่อย่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.)

* ตัวอย่าง

Betz, F. (2003). Managing Technological Innovation : Competitive Advantage From Change. New Jersey: John Wiley & Sons.

         ส่วนการอ้างอิงแบบอื่นๆ ให้ดูเพิ่มเติมในรายละเอียดของการอ้างอิงแบบ APA

         (American Psychology Association)

 

 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ประกอบด้วย

  1. ชื่อเรื่องของหนังสือ (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อผู้เขียนของหนังสือ [Author(s)] ใช้ชื่อเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมระบุสถาบันที่ผู้เขียนสังกัด
  3. ชื่อผู้วิจารณ์ (Name of Reviewer) ประกอบด้วย หน่วยงานที่สังกัด เบอร์โทร และอีเมล์ติดต่อ
  4. เนื้อหาการวิจารณ์ (Review Content) ประกอบด้วยการแนะนำเกี่ยวกับหนังสือที่วิจารณ์ ส่วนที่แสดงความคิดเห็นและรายละเอียดของการวิจารณ์พร้อมการกล่าวถึงจุดเด่นและจุดด้อยของหนังสือโดยอธิบายอย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผลตามหลักวิชาการ
  5. บทสรุป (Conclusion) โดยการเขียนสรุปความคิดเห็นทั้งหมดที่ทำการวิจารณ์ พร้อมทั้งเสนอแนวคิดหรือข้อสังเกตของผู้วิจารณ์เอง 

คำชี้แจงต่อผู้เขียน

  1. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  2. บทความที่ผู้เขียนเสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร “เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์” ต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  3. ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับถึงบรรณาธิการวารสาร “เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์” ก่อนกำหนดการออกวารสารอย่างน้อย 2 เดือน

 

คำชี้แจงการเสนอบทความ

  1. บทความภาษาไทย

1.1  ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 18 pt ตัวหนา

1.2  ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน (ทุกคน) ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ใต้ชื่อเรื่องโดยใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา

1.3  ตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานที่สังกัด และอีเมลของผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ครบทุกคน) ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 14 pt ตัวปกติ เขียนเป็นเชิงอรรถ โดยระบุให้ชัดเจนว่าชื่อใดคือ ผู้นิพนธ์ประสานงาน (corresponding author)

1.4  บทความจะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและ Abstract มีความยาวไม่เกิน 250 คำ และต้องพิมพ์คำสำคัญในบทคัดย่อภาษาไทยและพิมพ์ Keywords ใน Abstract ส่วนเนื้อความใช้อักษร Angsana New ขนาด 16 pt ตัวเอียง

1.5  เนื้อหาทั้งหมด (ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ) ใช้อักษร Angsana New ขนาด 16 pt ตัวปกติ ส่วนหัวข้อและให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 18 pt ตัวหนา และพิมพ์ให้ชิดขอบด้านซ้าย ให้ใช้ระยะบรรทัดห่าง 1 บรรทัด (Single space)

1.6  บทนำ (Introduction) ให้บรรยายครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัยพร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความ

1.7  ตาราง (Table) ให้ใช้คำว่า ตารางที่ ตามด้วยตัวเลข และคำอธิบายตาราง อยู่บนเนื้อตาราง ใช้อักษร Angsana New ขนาด 16 pt ตัวปกติ ทั้งนี้หากเนื้อหาตารางมีจำนวนมาก อาจปรับเป็นคอลัมน์เดียว

1.8  รูปภาพ (Figure) ให้ใช้คำว่า ภาพที่ ตามด้วยตัวเลข และคำอธิบายภาพ อยู่ด้านล่างภาพ ใช้อัก Angsana New ขนาด 16 pt ตัวปกติ โดยจัดวางภาพและตำแหน่งให้เหมาะสม

 

       2. บทความภาษาอังกฤษ

2.1  ชื่อเรื่องต้องระบุเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 18 pt ตัวหนา

2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน (ทุกคน) ต้องระบุเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา

2.3  ตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานที่สังกัด และอีเมลของผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ (ครบทุกคน) ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 14 pt ตัวปกติ เขียนเป็นเชิงอรรถ โดยระบุให้ชัดเจนว่าชื่อใดคือ ผู้นิพนธ์ประสานงาน (corresponding author)

2.4  บทความจะต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 250 คำ และต้องพิมพ์ keywords ส่วนเนื้อความให้ใช้อักษร Angsana New ขนาด 16 pt ตัวเอียง

 

ตัวอย่าง

                                ชื่อเรื่อง ภาษาไทย (Angsana New ขนาด 18 pt ตัวหนา)

                            ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ (Angsana New ขนาด 18 pt ตัวหนา)

                                 เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 8 pt ตัวหนา)

            ชื่อผู้เขียน ชื่อ-สกุล ภาษาไทย1  (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

             ชื่อผู้เขียน ชื่อ-สกุล ภาษาอังกฤษ1 (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

                                เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 6 pt ตัวหนา)

   1ตำแหน่งทางวิชาการ ชื่อ-สกุล ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน (ภาษาไทย) (Angsana New ขนาด 14 pt)

   1ตำแหน่งทางวิชาการ ชื่อ-สกุล ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน (ภาษาอังกฤษ) (Angsana New ขนาด 14 pt)

      Tel. 08-1111-1111  E-mail: rbsrangsit@rsu.ac.th (Angsana New ขนาด 14 pt)

(Received: January 8, 2021 ; Revised: February 10, 2021 ; Accepted: March 12, 2021) (Angsana New ขนาด 14 pt)

                               เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 8 pt ตัวหนา)

                               เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 10 pt ตัวหนา)

บทคัดย่อ (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

            เช่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางการตลาด และคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัยในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ (Angsana New ขนาด 16 pt)      

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 8 pt ตัวหนา)

คำสำคัญ:  องค์ประกอบทางการตลาด, คุณลักษณะของผู้ประกอบการ (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวเอียง)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

Abstract (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

            เช่น This research aims to study the marketing’s components and characteristics of entrepreneurs toward the success of senior product entrepreneurs’ business operation in Thailand. (Angsana New ขนาด 16 pt)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 8 pt ตัวหนา)

Keywords:  Marketing elements, Entrepreneurs' traits (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวเอียง)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

บทนำ  (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เช่น ในอดีตที่ผ่านมาจำนวนประชากรมีแนวโน้มขยายเพิ่มมากขึ้น จึงมีการวางแผนในการควบคุมอัตราการเกิดของประชากรมีการวางแผนครอบครัวให้ครอบครัวมีสมาชิกในครอบครัวที่เหมาะสม ส่งผลทำให้จำนวนประชากรมีอัตราการเกิดปรับตัวลดลง ขนาดครอบครัวขนาดเล็กลงในเวลาต่อมา ในครอบครัวที่เป็นคนรุ่นใหม่เริ่มมีการควบคุมการเกิดและมีการวางแผนเรื่องการมีบุตรหรือไม่มีบุตร ในขณะเดียวกันประชากรไทยเริ่มมีผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้น (Angsana New ขนาด 16 pt)

วัตถุประสงค์การวิจัย (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เช่น เพื่อศึกษาปัจจัยองค์ประกอบทางการตลาดของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัยในประเทศไทย (Angsana New ขนาด 16 pt)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

วิธีการดำเนินงาน (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เช่น ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลตามขั้นตอน คือ นำแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง (Angsana New ขนาด 16 pt)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

ผลการวิจัย (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เช่น ข้อมูลปัจจัยองค์ประกอบทางการตลาดที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ (Angsana New ขนาด 16 pt)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

สรุปและอภิปรายผล (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เช่น จากงานวิจัยนี้องค์ประกอบทางการตลาด ด้านสินค้า ด้านราคา ด้านช่องทางจำจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด (Angsana New ขนาด 16 pt)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

ข้อเสนอแนะ (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เช่น ผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัยสามารถพิจารณาประเด็นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจและนำไปพัฒนาเพิ่มเติมในการประกอบธุรกิจในอนาคต (Angsana New ขนาด 16 pt)

REFERENCES (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เว้นบรรทัด (Angsana New ขนาด 16 pt ตัวหนา)

เอกสารอ้างอิง (References)

            บทความทุกบทความที่ส่งมายังวารสารเพื่อพิจารณาทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องเขียนอ้างอิงเอกสารหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในตอนท้ายของบทความเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และให้เขียนในรูปแบบของ APA (American Psychology Association) โดยผู้ส่งบทความต้องตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนอ้างอิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ บทความใดที่มีรูปแบบการอ้างอิงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาการประเมินบทความในขั้นตอนถัดไป

 

การอ้างอิงชื่อบทความในวารสาร

* หลักเกณฑ์

Surname, initial. (year). title. journal name, volume, page number.

(นามสกุล, ชื่อย่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ฉบับที่, เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.)

* ตัวอย่าง

Fornell, C. & Larcker, D.F. (1981). Evaluating Structural Equation Models With Unobservable Variables and Measure. Journal of Marketing Research, 18, 39-50.

 

การอ้างอิงชื่อหนังสือ

* หลักเกณฑ์

Surname, initial. (year). title. place of publication: publisher.

(นามสกุล, ชื่อย่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.)

* ตัวอย่าง

Betz, F. (2003). Managing Technological Innovation : Competitive Advantage From Change. New Jersey: John Wiley & Sons.

         ส่วนการอ้างอิงแบบอื่นๆ ให้ดูเพิ่มเติมในรายละเอียดของการอ้างอิงแบบ APA

         (American Psychology Association)