ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกำไรกับค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ (MAI)

Main Article Content

อานัติ หยกพิทักษ์โชค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกำไรกับค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยพิจารณาถึงพฤติกรรมของฝ่ายบริหารที่อาจมีความสัมพันธ์กับการบริหารกำไร เพื่อประโยชน์ในด้านค่าตอบแทนของตนเองที่ผูกกับผลการดำเนินงานหรือผลประกอบการของบริษัท ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงินและ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 523 บริษัทตัวอย่าง ที่เก็บรวบรวมตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึง 2560 โดยผลการศึกษาพบว่าการบริหารกำไรมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ อย่างมีนัยสำคัญ จึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริหารมีโอกาสบริหารกำไรเพื่อสร้างผลการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้นตามความต้องการของตนเอง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการบริหารกำไรลดทอนประสิทธิภาพของระบบผลตอบแทนเพื่อจูงใจให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติงาน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสีย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2542). ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/mai/th/about/vision.html

ธกานต์ ชาติวงศ์. (2560). ทฤษฎีที่ใช้อธิบายงานวิจัยทางบัญชี:จากอดีตถึงอนาคต. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 203-212.

พัชรินทร์ ภัทรวานิชานนท์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนของผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่ง. (Unpublished Independent Study). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative accounting และคุณภาพกำไรแล้วหรือยัง?.

กรุงเทพฯ : ไอโอนิค อินเตอร์เทรด รีซอสเซส. สืบค้นจาก http://lib.neu.ac.th/ULIB/dublin.php?ID=4335

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ทฤษฎีบรรษัทภิบาล.วารสารบริหารธุรกิจ.ปีที่ 31 (120), 1- 4.

สุธิดา ออพิพัฒน์. (2559). ค่าตอบแทนผู้บริหาร บรรษัทภิบาล และการตกแต่งกำไร. (Unpublished Independent Study). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อัจฉราโยมสินธุ์. (2555). 365+1... คําศัพท์การเงินและการลงทุน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นจากhttps://www.goodreads.com/book/show/20443045-365-1

อินทิพากุลย์ ศรประสิทธิ์. (2554). บรรษัทภิบาล ค่าตอบแทนผู้บริหาร และผลการดำเนินงานของกิจการ: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (Unpublished Independent Study). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

A. Shuto. (2007). Executive compensation and earnings management: Empirical evidence from Japan. Journal of International Accounting, Auditing and Taxation, 1-26.

Buachoom, W. (2017). Simultaneous relationship between performance and executive compensation of Thai non-financial firms. Asian Review of Accounting, 404-423.

Christopher D. Ittner, David F. Larcker and Madhav V. Rajan. (1997). The Choice of Performance Measures in Annual Bonus Contracts. The Accounting Review. 231–255.

Dechow, P M. Sloan, R G., & Sweeney, A. P. (1995) Detecting Earnings Management. Accounting Review, 193-225.

Jensen, M.C. &Meckling, W.H. (1976). Theory of The Firm: Managerial Behavior, Agency Cost and Ownership Structure. Journal of Financial Economic, 305–360.

Jones, J. J. (1991). Earnings Management During Import Relief Investigations. Journal of Accounting Research, 193-228.

Morris, R. D. (1987). Signalling agency theory and accounting policy choice. Accounting and business Research, 18(69), 47-56.

Richard A. Lambert & David F. Larcker. (1987). An Analysis of the use of Accounting and Market Measures of Performance in Executive Compensation Contracts. Journal of Accounting Research, 85–125.

Rim Ben Hassen. (2014). Executive compensation and earning management. International Journal of Accounting and Financial Reporting, 84–105.

Sloan, R. (1993). Accounting earnings and top executive compensation. Journal of Accounting and Economics, 55-100.