ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกฎ และการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยของพนักงานขับรถของบริษัทผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าอุปโภค และบริโภคในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และภาคตะวันออกของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของการมีส่วนเกี่ยวข้องของพนักงาน ขั้นตอน บรรยากาศ ต่อแรงจูงใจ ความรู้ การมีส่วนร่วม และการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยของพนักงานขับรถของบริษัทผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าอุปโภค และบริโภคในเขตกรุงเทพปริมณฑลและภาคตะวันออก กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานขับรถของบริษัทผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าอุปโภค และบริโภคในเขตกรุงเทพปริมณฑลและภาคตะวันออกของประเทศไทย จำนวน 546 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยแสดงว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของการมีส่วนเกี่ยวข้องของพนักงาน ขั้นตอน บรรยากาศ ต่อแรงจูงใจ ความรู้ การมีส่วนร่วม และการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยของพนักงานขับรถของบริษัทผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าอุปโภค และบริโภคในเขตกรุงเทพปริมณฑลและภาคตะวันออกของประเทศไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค-สแควร์ (x2) เท่ากับ 464.348 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 420 ค่าความน่าจะเป็น (p–value) เท่ากับ 0.650 ค่าไค–สแควร์สัมพัทธ์ (x2/df) เท่ากับ 1.105 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.953 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.934 และค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.012 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า (1) การมีส่วนเกี่ยวข้องของพนักงาน ขั้นตอนด้านความปลอดภัย และบรรยากาศด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อความรู้ด้านความปลอดภัย (2) การมีส่วนเกี่ยวข้องของพนักงาน ขั้นตอนด้านความปลอดภัย บรรยากาศด้านความปลอดภัยมีอิทธิพล และความรู้ด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อแรงจูงใจด้านความปลอดภัย (3) ความรู้ด้านความปลอดภัยและแรงจูงใจด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัย และ (4) ความรู้ด้านความปลอดภัย และแรงจูงใจด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาในวารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ สามารถนำผลงานไปใช้เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไร
References
ณัชชา โอเจริญ. (2560). อุบัติเหตุทางถน ความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม, 2562, จาก https://tdri.or.th/2017/08/econ_traffic_accidents/
บริษัท ทีเอฟที ทรานสปอร์ต จำกัด. (2560). รถขนส่งสินค้า และความปลอดภัยในการขนส่ง. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม, 2562, จาก http://www.transport4thai.com/รถขนส่งสินค้า-ปลอดภัย/
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2561). อุบัติเหตุกระทบเศรษฐกิจ. Retrieved 17 มีนาคม, 2562, from https://www.prachachat.net/columns/news-97292
ศิริพร ถิตย์ประเสริฐ. (2558). ศึกษาแนวทางในการลดต้นทุนการขนส่งกรณีศึกษาบริษัท นำเข้าชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม, 2562, จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56920281.pdf
อัครพล ชุณหเกียรติ์สกุล. (2559). การลดต้นทุนการขนส่งของบริษัทขนส่ง กรณีศึกษา ศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดเพชรบุรี ค้นเมื่อ 11 มีนาคม, 2562, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802031327_5236_4123.pdf
Drew, E. N. (2014). Personnel selection, safety performance, and job performance: Are safe workers better workers?,. Unpublished Doctoral Dissertation, Florida International University, Miami, Florida.
Fargnoli, M., & Lombardi, M. (2019). Preliminary Human Safety Assessment (PHSA) for the Improvement of the Behavioral Aspects of Safety Climate in the Construction Industry. Buildings, 9(3), 1-18.
Field, A. (2009). Discovering Statistics Using SPSS: Paperback.
Gao, Y., Fan, Y., Wang, J., Li, X., & Pei, J. (2019). The mediating role of safety management practices in process safety culture in the Chinese oil industry. Journal of Loss Prevention in the Process Industries, 57, 223-230.
Griffin, M. A., & Neal, A. (2000). Perceptions of safety at work: A framework for linking safety climate to safety performance, knowledge, and motivation. Journal of Occupational Health Psychology, 5, 347-358.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7 ed.). Harow, Essex: Pearson.
He, C., Jia, G., McCabe, B., & Sun, J. (2019). Relationship between leader-member exchange and construction worker safety behavior: the mediating role of communication competence. International journal of occupational safety and ergonomics(just-accepted), 1-25.
Hedlund, A., Åteg, M., Andersson, I.-M., & Rosén, G. (2010). Assessing motivation for work environment improvements: Internal consistency, reliability and factorial structure. Journal of Safety Research, 41(2), 145-151.
Hofmann, D. A., Burke, M. J., & Zohar, D. (2017). 100 years of occupational safety research: From basic protections and work analysis to a multilevel view of workplace safety and risk. Journal of applied psychology, 102(3), 375-388.
iM2 Markrt. (2017). โลจิสติกส์ คือ (Logistic). Retrieved 9 มีนาคม, 2562, from https://www.im2market.com/2016/07/27/3429
Jiang, L., & Probst, T. M. (2016). Transformational and passive leadership as cross-level moderators of the relationships between safety knowledge, safety motivation, and safety participation. Journal of Safety Research, 57, 27-32.
Lee, Y.-H., Lu, T.-E., Yang, C. C., & Chang, G. (2019). A multilevel approach on empowering leadership and safety behavior in the medical industry: The mediating effects of knowledge sharing and safety climate. Safety Science, 117, 1-9.
Mariani, M. G., Vignoli, M., Chiesa, R., Violante, F. S., & Guglielmi, D. (2019). Improving safety through non-technical skills in chemical plants: the validity of a questionnaire for the self-assessment of workers. International journal of environmental research and public health, 16(6), 1-14.
Mirza, M. Z., Isha, A. S. N., Memon, M. A., Azeem, S., & Zahid, M. (2019). Psychosocial safety climate, safety compliance and safety participation: The mediating role of psychological distress. Journal of Management & Organization, 1-16.
Neal, A., & Griffin, M. A. (2006). A study of the lagged relationships among safety climate, safety motivation, safety behavior, and accidents at the individual and group levels. Journal of applied psychology, 91(4), 946–953.
Osman, A., Khalid, K., & AlFqeeh, F. M. (2019). Exploring the role of safety culture factors towards safety behavior in samall-medium enterprise. International Journal of Entrepreneurship, 23(3), 1-11.
Sarstedt, M. (2019). Revisiting Hair Et al.’s Multivariate Data Analysis: 40 Years Later The Great Facilitator (pp. 113-119): Springer.
Stevens, J. P. (2012). Applied multivariate statistics for the social sciences: Routledge.
Stratman, J. L., & Youssef-Morgan, C. M. (2019). Can positivity promote safety? Psychological capital development combats cynicism and unsafe behavior. Safety science, 116, 13-25.
Vinodkumar, M. N., & Bhasi, M. (2010). Safety management practices and safety behaviour: Assessing the mediating role of safety knowledge and motivation. Accident Analysis & Prevention, 42(6), 2082-2093.