แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน (Cochran) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวม พนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.17 โดยมีความคิดเห็นมากที่สุดในด้านประโยชน์ของพนักงาน ด้านประโยชน์ต่อองค์กร และด้านทิศทางในการบริหารงานที่ชัดเจน ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการทำงาน และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันมีระดับแรงจูงใจแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐาน ยกเว้น ด้านเพศที่มีระดับแรงจูงใจไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาในวารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ สามารถนำผลงานไปใช้เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไร
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 –
สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/wp-content/uploads/2024/01/ฉบับที่-3-พ.ศ.-2566-2570.pdf
ประเทือง มูลทองตน ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา และสาวิตตรี จบศรี (2564). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร, Journal of Humanities and Social Science Research; 23(2); 39-49.
พลอยไพลิน อิงบุญ กนกวรรณ แสนเมือง และกาญจนา พันธุ์เอี่ยม (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน), วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัย ประชาชื่น; 1(1) ; 1-11.
ไพรทูล บุญศรี, ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา และ สฎายุ ธีระวณิชตระกูล (2564).แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงแรม 4 ดาวที่เป็นเลิศแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา: ภาพสะท้อนจากมุมมองผู้ปฏิบัติงาน, วิทยานิพนธ์, ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัฒนชัย ไชยอำพร สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ และปภพ พุฒิมานรดีกุล (2565). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในระดับปฏิบัติการของอุตสาหกรรมบริการในกรุงเทพมหานคร,
การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13, วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565, 193-202.
Alderfer, C. P. (1969). An Empirical Test of A New Theory of Human Needs. Organizational Behavior and Human Performance 4: 142-175.
Best, J. W., & J. V. Kahn, (1993). Research in Educational (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. (3rd ed). New York: Harper & Row.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins
Publishers. (pp.202-204)
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work, John Wiley & Sons,
New York, NY.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.
McClelland, D. (1961). The achieving society. Princeton, NJ: Van Nostrand Company Inc.
McGregor, D. (1960). The Human Side of Enterprise, New York: McGraw-Hill.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the Assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.