การศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดำเนินงานโลจิสติกส์การขนส่ง

Main Article Content

เสฏฐวุฒิ เย็นเยือก
ชนะเกียรติ สมานบุตร
เฉลิมพร เย็นเยือก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการดำเนินงานในงานโลจิสติกส์การขนส่ง 2) ระดับศักยภาพของบุคลากรในการดำเนินงานโลจิสติกส์การขนส่ง สำหรับเป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้ประกอบการและผู้สนใจในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์การขนส่ง โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย แล้วนำผลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test, F-test และการวิเคราะห์ถดถอย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุน้อยกว่า 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้อยู่ระหว่าง 20,000–30,000 บาท มีตำแหน่งพนักงานปฏิบัติงาน และมีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 3-6 ปี โดยผลการดำเนินงานโลจิสติกส์ด้านการบริการลูกค้ามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการขนส่ง และ ด้านการกระจายสินค้าและด้านการดำเนินงานตามลำดับ ส่วนด้านศักยภาพพนักงานพบว่าด้านความรู้ความสามารถมีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานของพนักงาน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ การศึกษา และรายได้ที่ต่างกันมีผลสำเร็จในการดำเนินงานโลจิสติกส์ต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนการดำเนินงานด้านบริการ ด้านการขนส่ง ด้านการกระจายสินค้า ด้านระบบการดำเนินงาน และ ศักยภาพพนักงานด้านความรู้ ความสามารถ และด้านความเชี่ยวชาญ ในภาพรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานโลจิสติกส์ขนส่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรตระหนักในความสำคัญของการเพิ่มศักยภาพพนักงานด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานโดยเฉพาะการสร้างคุณภาพการบริการให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว คุ้มค่า ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ขององค์การให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อันจะสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์การอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Christopher, M.(1998). Logistics and Supply Chain Management: Strategies for Reducing Cost and Improving Service (2 Edition). London : Prentice Hall.

Division of Logistics, Department of Industrial Promotion (2020). Best practice & Lessons Learned. Retrieved from https://dol.dip.go.th/uploadcontent/DOL/FON/BP/Best_Practices_Full.pdf

George,M., Works, J. & Waston-Hemphill, K. (2005). Fast Innovation: Achieving Superior Differentiation, Speed to Market, and Increased Profitability. New York : McGraw Hill.

Grant, R. M. (1991). Contemporary Strategy Analysis : Concept, Techniques, Application. London: Basil Blackwell.

Grant, R.M. (2006). Fundamental of Logistics Management. Berkshire : McGraw.

Groysberg, B., & Abrahams, R. (2006). Lift Outs How to Acquire a High-Functioning Team. Harvard Business Review, 84(1), 133-140.

Kasirinch, C. (2019). Planning a Logistics System. Retrieved from http://www.cuti.chula.ac.th/twwwroot/journals/old/transj3/p8.pdf

Office of the National Economic and Social Development Council. (2019). Retrieved from https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/more_news.php?cid=564&filename=

The Third Thailand Logistics Development Plan (2017-2022). Retrieved from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6923&filename=logistic

Trade Policy and Strategy Office. (2020). Information. Retrieved from http://www.tpso.moc.go.th/th/node/9760

Vicari, S. (1998). Organizational Creativity: A New Perspective from Cognitive Systems Theory. Journal of Speech, Language, and Hearing Research, 41(5), 63-88

World Bank. (2020). Logistic Index. Retrieved from https://lpi.worldbank.org/