การพัฒนารูปแบบศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ทยา ปิณฑะแพทย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สมนึก วิสุทธิแพทย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • วรทิน พิศาลพงศ์ บริษัท สหธาราวัฒน์ จำกัด

คำสำคัญ:

รูปแบบศักยภาพ, ผู้จัดการฝ่ายผลิต, อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายและการประชุมสัมมนากลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลในเทคนิคเดลฟาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้บริหารและผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 19 คน และผู้เข้าร่วมในการประชุมการสัมมนากลุ่มย่อย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะ และนักวิชาการ จำนวน 13 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติมัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter Quartile Range) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 3 มิติ 6 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบรอง มิติและองค์ประกอบหลัก ได้แก่ มิติด้านการปฏิบัติงานการผลิต ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ด้านความรู้ในงานผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะ และ ด้านทักษะในกระบวนการผลิตด้วยระบบดิจิทัล มิติด้านการบริหารการผลิต ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ด้านการบริหารองค์กรฝ่ายผลิต และ ด้านการบริหารคุณภาพการผลิต มิติด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย2 องค์ประกอบหลัก ด้านคุณลักษณะเฉพาะตน และ ด้านคุณลักษณะผู้บริหาร ผลการจัดทำคู่มือแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล แบ่งออกเป็น ส่วนที่ 1 การแนะนำคู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล รูปแบบและคู่มือแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัลได้รับการลงมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับดี

References

Meesomkarn, K. (2022). The Development of an Aircraft Technician Competency Model to Prepare for Becoming a Supervisor in the Digital Era [Doctoral dissertation]. Department of Business and Human Resource Development, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (in Thai).

Pisanpong, W. (2012). The Development of a Self-Maintenance Training Program for Production Workers in the Metal Packaging Industry [Doctoral dissertation]. Department of Business and Human Resource Development, Graduate School, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (in Thai).

Boonyasopon, T., & Chalermchirarat, V. (2007). Industrial Management Fundamentals. Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok. (in Thai).

Rassametummachot, S. (2001). Human Resource Focus. In D. Hellriegel, S. E. Jackson, & W. J. Slocum Jr. (Eds.), Management: A Competency-Based Approach (9th ed.). Norcross, Georgia: Industrial Engineering Press.

Kananit, J. (2023). A Model for the Development of Middle-Level Management Potential in the Petroleum Production Platform Industry in Thailand [Doctoral dissertation]. Department of Business and Human Resource Development, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (in Thai).

Tangpanyarach, P. (2023). A Model for the Development of Middle-Level Management Potential in the Production Line for the Petrochemical Industry in the Digital Economy [Doctoral dissertation]. Department of Business and Human Resource Development, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (in Thai).

Badiru, B. A. (1991). Project Management Tools for Engineering and Management Professionals. Institute of Industrial Engineers, Norcross, Georgia: Industrial Engineering Press.

Khaonngern, M., Panich, R., & Sermsri, W. (n.d.). Enhancing the Efficiency of Raw Material Procurement Planning: A Case Study of an Automotive Parts Manufacturer. Department of Logistics and Digital Supply Chain Management, Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok. (in Thai).

Elsevier B.V. (2014). Selection and Peer-Review Under Responsibility of the International Scientific Committee of the 47th CIRP Conference on Manufacturing Systems in the Person of the Conference Chair Professor Hoda ElMaraghy. Procedia CIRP, 17, 32–37. https://doi.org/10.1016/j.procir.2014.01.071

Deming, W. E. (1993). The New Economics. Massachusetts Institute of Technology Press.

Mariëlle, E. H., & Schoormans, P. L. (2004). Guideline for Metal Packaging Sustainable Development. https://aluminiumloop.com/sustainable-development-goals-and-aluminiumcan/

Aydin, S., & Özer, G. (2005). The Analysis of Antecedents of Customer Loyalty in the Turkish Mobile Telecommunication Market. European Journal of Marketing, 39(7/8), 910–925.

Babin, B. J., Hardesty, D. M., & Suter, T. A. (2003). Color and Shopping Intentions: The Intervening Effect of Price Fairness and Perceived Affect. Journal of Business Research, 56(7), 541–551.

Aslam, M. M. (2006). Are You Selling the Right Colour? A Cross-Cultural Review of Color as a Marketing Cue. Journal of Marketing Communications, 12(1), 15–30.

Herrington, J. D., & Capella, L. M. (1995). Shopping Reactions to Perceived Time Pressure. International Journal of Retail & Distribution Management, 23(12), 13–20.

Mueller, S., & Lockshin, L. (2008). How Important Is Wine Packaging for Consumers? On the Reliability of Measuring Attribute Importance with Direct Verbal Versus Indirect Visual Methods. Paper Presented at the 4th International Conference of the Academy of Wine Business Research, Siena, Italy.

Morwitz, V. (2014). Consumers’ Purchase Intentions and Their Behavior. Foundations and Trends in Marketing, 7(3), 181–230.

Niljinda, K., Kerdmalai, N., Yeemin, M., & Nuangsittha, N. (2019). Packaging Development for Unique Khit-Cotton Products of Ban Na Kham, Phanna Nikhom District, Sakon Nakhon Province. Faculty of Management Science, Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai).

Pladsongkram, R. (2018). Identity Design on Packaging for Phuket Pineapple Community Enterprises. Faculty of Science and Technology, Phuket Rajabhat University. Walailak Cultural Journal. (in Thai).

Becker, L., Van-Rompay, T. J., Schifferstein, H. N., & Galetzka, M. (2011). Tough Package, Strong Taste: The Influence of Packaging Design on Taste Impressions and Product Evaluations. Food Quality and Preference, 22(1), 17–23.

Asavapokin, A. (2022). The Causal Factors of Digital Technology Management of Future Automotive Industry Entrepreneurs. Journal of Research and Development, Bansomdej-chaopraya Rajabhat University, 7(2), 273–288. (in Thai).

Silayoi, P., & Speece, M. (2007). The Importance of Packaging Attributes: A Conjoint Analysis Approach. European Journal of Marketing, 41(11/12), 1495–1517.

Pinthapataya, S., & Caldwell, B. (2003). Leadership and Successful Implementation of Change in Thailand [Doctoral dissertation]. Faculty of Education. The University of Melbourne.

Wuttiprichasit, R. (2019). Guidelines for Developing Governance in Public Sector Operations [Master’s thesis]. National Institute of Development Administration. (in Thai).

Sawatsirungkar, P. (2019). Two-Factor Theory [Frederick Herzberg] 2-Factor Theory [Frederick Herzberg 1959]. Encyclopedia of Management and Administration. Retrieved April 17, 2019, from https://drpiyanan.com/2019/04/17/2-factor-theory-frederick-herzberg/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29

How to Cite

ปิณฑะแพทย์ ท., วิสุทธิแพทย์ ส., บุณยโสภณ ธ., & พิศาลพงศ์ ว. (2024). การพัฒนารูปแบบศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในยุคดิจิทัล. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 4(2), 108–124. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/851