การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของการเป็นหุ้นส่วนองค์กรของนักทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพขององค์กร บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • เอกสิทธิ์ วงศ์ใหญ่ -BID KMUTNB
  • ณัฏฐิรา หอพิบูลสุข ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

บทบาทของตำแหน่งหุ้นส่วนองค์กรของนักทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิภาพองค์กร, บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทการเป็นหุ้นส่วนองค์กรของตำแหน่งนักทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร (Human Resources Business Partner : HRBP) บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 2) ศึกษาประสิทธิภาพขององค์กร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการเป็น HRBP กับประสิทธิภาพขององค์กร 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทการเป็น HRBP 5) เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของ HRBP กับประสิทธิภาพขององค์กรเชิงปริมาณและคุณภาพ วิจัยใช้แบบผสมผสาน ประชากรสำหรับวิจัยเชิงประมาณคือพนักงานระดับปฏิบัติการ 200 คนที่ในแผนกที่มีเจ้าหน้าที่ HRBP ประจำอยู่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพคือ ผู้บริหารจำนวน 3 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการเป็นหุ้นส่วนของนักทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอยู่ในลำดับหนึ่ง รองลงมาคือ ด้านผู้เป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์ ด้านผู้เป็นปากเสียงพนักงาน และด้านผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง 2) ระดับประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านเวลาอยู่ในอันดับหนึ่ง รองลงมาคือด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงาน และด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 3) บทบาท HRBP มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพขององค์กรทุกข้อ ด้านผู้เป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพขององค์กรในระดับสูง ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการ และด้านผู้เป็นปากเสียงพนักงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพขององค์กรในระดับค่อนข้างสูง ด้านผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพขององค์กรในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกข้อ 4) แนวทางการพัฒนาบทบาทการเป็น HRBP ได้แก่ ด้านการติดต่อสื่อสารในหน่วยงานต่าง ๆ เน้นการพัฒนาทัศนคติ การเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร ศึกษาแนวทางการปรับใช้เทคโนโลยี 5) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพ พบว่าบทบาทการเป็น HRBP สัมพันธ์กับประสิทธิภาพองค์กร การสัมภาษณ์ยืนยันข้อมูลดังกล่าวจากผลสรุปที่ว่า HRBP ช่วยในการสื่อสารวิสัยทัศน์ร่วม วัตถุประสงค์องค์กร และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

References

Ulrich, D. (1997). Human resource champions: The next agenda for adding value and delivering results. Harvard Business School Press.

Fangyue, S. (2021). Analysis on The Challenges of The HRBP Application in Organizations. International Seminar on Education, Management and Social Sciences.

Longtunman. (2021). Company Selling Online Data Worth 7 Billion. Retrieved March 31, 2021, from https://www.longtunman.com/28545

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Irwin.

Thaweerat, P. (1997). Research Methods in Behavioral and Social Sciences (2nd ed.). Bureau of Educational and Psychological Tests, Srinakharinwirot Prasarnmit University. (in Thai)

Phuwittayathorn, T. (2016). The Role of Human Resource Specialists that Affects the Organizational Effectiveness of Employees of Enterprises. Medium Size. Panyapawit Journal. 8(2), 90–99 (in Thai)

Kingwongsa, P. (2021). Model of Potential of Human Resource Executives in Business Partnership. Journal of Social Science and Buddhist Anthropology, 6(1), 229–249.

Champhumth, C. (2021). Human Resource Development in the Era of Sudden Digital Transformation. Journal of Education Periscope, 8(1), 195–208.

Mingnitsupaporn, S. (2019). Study of the Relationship Between Human Resource Management and Organizational Innovation. College of Management, Mahidol University. (in Thai)

Usaengthong, N. (2021). Human Resource Development Management Under the Digital Transformation of the Transportation Organization Bangkok Masses (Master’s independent study). Siam University. (in Thai)

Punyanithi, D. (2014). The Role and Duties of the Human Resource Department as a Partner in a Business Organization. Case Study A Commercial Bank. Thammasat University. (in Thai)

Ioannis, T. (2017). Human Resources Division Transformation in the Banking Sector: The Implementation of the ‘Three-Legged Stool’. International Journal of Decision Sciences, Risk and Management, 7(1/2), 88–104.

McCracken, M., O'Kane, P., Brown, T., & McCrory, M. (2017). Human Resource Business Partner Lifecycle Model: Exploring How the Relationship Between HRBPs and Their Line Manager Partners Evolves. Human Resource Management Journal, 27(1), 58–74.

Carol, A. B. (2019). The Human Resources Business Partner. Industrial Relations Centre, Queen’s University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29