การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้ System Flowchart เกี่ยวกับหลักการคิดค่าเสื่อมหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
Achievement Study of Using the System Flowchart According to The Depreciation Principles of Land and Building
คำสำคัญ:
System Flowchart การคิดค่าเสื่อม หมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้ System Flowchart เกี่ยวกับหลักการคิดค่าเสื่อมหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้าง System Flowchart สำหรับศึกษาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคิดค่าเสื่อมหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ตามเกณฑ์สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง (2) วัดผลสัมฤทธิ์ของ System Flowchart ที่ใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการคิดค่าเสื่อมหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามี 3 กลุ่ม จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ และศึกษาเอกสารเพื่อนำข้อมูลมาประกอบในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การศึกษาใช้วิธีเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างที่ทำบททดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่างานที่ต้องคิดค่าเสื่อมหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ งานจ้างออกแบบ งานควบคุมงานก่อสร้าง งานก่อสร้างใหม่ และงานซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติม ทำให้พื้นที่เพิ่ม จากการศึกษาทำให้ได้ System Flowchart สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการคิดค่าเสื่อมหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ผลสัมฤทธิ์จากการใช้ System Flowchart ของกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานพัสดุ มีค่าในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม สามารถใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องร้อยละ100 และมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน System Flowchart เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการคิดค่าเสื่อมหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมาก
References
Government Procurement and Supplies Management Act. (2017). Bangkok: M.P.P. Retrieved from https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/024/13.PDF
Pithuwan Kititakun. (2016). Development of the bureaucratic system through results-oriented management. (Result Based Management : RBM). Retrieved from https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=32239
Phenprapha Phadungkla. (2017). The Development of Online Manual on Procurement and Price Agreement Methods by King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Thesis in Innovation Management for business and industry King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.
Chaiwat Nualta. (2017). Development of Academic Achievement Regarding the Inheritance of Genetic Characteristics of Students. Mathayom 4 With 5 Steps of Inquiry-Based Learning Activities. [Master of Science Thesis, Science Education Department, Faculty of Science Ubon Ratchathani University]. Retrieved from http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/?q=node/1412
Chulalak Thachayla. (2014). Writing a flowchart. [Programming principles]. Retrieved from http://www.bankhai.ac.th/dev_c/algorithm_02.pdf
Ensmenger, N. (2020). The Multiple Meanings of a Flowchart. Information & Culture, 51(3), 321–351. https://doi.org/10.7560/IC51302
Ho, J.-L., Lin, C.-F., Lai, M.-Y., Tseng, L.-Y., & Chiang, T.-Y. (2021). Building Theory from Practice: Mapping Executive Chefs’ Menu Planning Processes Using a Flowchart. SAGE Open, 11(4). https://doi.org/10.1177/21582440211056610
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.