การค้ำประกันตามสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้ประกอบการควรรู้
คำสำคัญ:
การค้ำประกัน, สัญญาจ้าง, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
เมื่อมีการทำสัญญาค้ำประกันตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วนายจ้างสามารถเรียกหลักประกันได้เฉพาะตำแหน่งงานที่กฎหมายบัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ในการเรียกหลักประกันจะเรียกได้ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ หากมีการเรียกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดสัญญาค้ำประกันจะมีผลเป็นโมฆะการทำสัญญาค้ำประกันจะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกตกลงกับเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ให้เจ้าหนี้ มีหน้าที่ส่งหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันทราบว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดหากนายจ้างไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดสัญญาอาจเป็นโมฆะและนายจ้างอาจต้องรับผิดในทางอาญาซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับ
References
ประกาศกระทรวงแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างพ.ศ 2551. (2551, 4 กรกฎาคม).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนพิเศษ112 ง4. หน้า 10
วิจิตรา วิเชียรชม. (2564). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 8). วิญญูชน.
smartdeka. (2562). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๗๘๒/๒๕๖๐. Smartdeka. https://www.smartdeka.com/
อานนท์ ศรีบุญโรจน์. (2565) กฎหมายประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ค้ำประกันจำนองจำนำ (พิมพ์ครั้งที่ 8). วิญญูชน.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2563) คำพิพากษาศาลฎีกาพุทธศักราช 2562 เล่มที่ 12 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานศาลยุติธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2468, 11 พฤศจิกายน) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. krisdika https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=567410&ext=htm.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2515, 16 มีนาคม) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ 2541. Senate. https://www.senate.go.th/assets/portals/28/fileups/146/files/พรบ.คุ้มครองแรงงาน%20พ.ศ.2541_1.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.