ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบของผู้ผลิตผลไม้แปรรูปด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น

ผู้แต่ง

  • กฤติยา เกิดผล สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • สำราญ ชำโสม สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ดวงมณี ทองคำ สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม(ต่อเนื่อง) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

เกณฑ์การประเมิน, ผู้ส่งมอบ, ผู้ผลิตผลไม้แปรรูป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์หลักเกณฑ์ในการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบของผู้ผลิตผลไม้แปรรูป และ 2) พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบของผู้ผลิตผลไม้แปรรูป ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ผลิตผลไม้แปรรูปในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามแบบเปรียบเทียบรายคู่ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินผู้ส่งมอบผู้ผลิตผลไม้แปรรูป ใช้การวิเคราะห์เชิงลำดับขั้นในการวิเคราะห์ ค่าน้ำหนักของหลักเกณฑ์โดยการเปรียบเทียบรายคู่ขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย วิเคราะห์ศักยภาพจากผลการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบผู้ผลิตผลไม้แปรรูปโดยใช้การประเมินตามค่าน้ำหนักของแต่ละหลักเกณฑ์โดยใช้เทคนิคการรวมแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ มีค่าน้ำหนักมากที่สุด(0.489) รองลงมา คือ หลักเกณฑ์ด้านเวลา (0.281) หลักเกณฑ์ด้านราคา (0.149) และหลักเกณฑ์ด้านความน่าเชื่อถือ (0.081) ตามลำดับ หลักเกณฑ์ย่อยที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ การไม่เน่าเสียและสะอาด (0.291) ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์หลักด้านคุณภาพ รองลงมา คือ การบริการสะดวกรวดเร็ว (0.166) ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ด้านปริมาณ เพียงพอต่อความต้องการ (0.155) และราคาเหมาะสม (0.103) นอกจากนั้นอีก 8 หลักเกณฑ์ย่อยมีค่าน้ำหนักไม่ถึง 0.100 ได้แก่ มีบริการจัดส่ง การบริการของพนักงานขาย เส้นทางและระยะทางการขนส่ง การได้รับรองมาตรฐาน สามารถเจรจาต่อรองได้ ช่องทางการติดต่อ เงื่อนไขการชำระเงิน และระบบการขนส่ง ตามลำดับ

References

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร. (2565). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. Tradereport. https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report.

สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2561–2565 (ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2564). Chanthaburi. https://www.chanthaburi.go.th/news_devpro.

อภิรดี สรวิสูตร. (2559) การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์: เปรียบเทียบแนวคิดและวิธีการระหว่าง SAW AHP และ TOPSIS. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8 (2), 180–192.

Jaberidoost, M., Olfat, L., Hosseini, A., Kebriaeezadeh, A., Abdollahi, M., Alaeddini, M., & Dinarvand, R. (2015). Pharmaceutical supply chain risk assessment in Iran using analytic hierarchy process (AHP) and simple additive weighting (SAW) methods. Journal of Pharmaceutical Policy and Practice, 1(8), 1-10.

Öztürk, D. (2017). Factors that Influence the Supplier Selection of Manufacturing Businesses. Journal of Research in Business and Management, 4(11), 18-24.

Palha, R. P., & de Almeida, A. T. (2017). Food Supplier Selection: An Application of The Additive Veto Model. In Systems, Man, And Cybernetics (SMC), 2017 IEEE International Conference on (pp. 3630-3635). Canada: Banff.

Tavana, M., Shaabanic, A., Di Capriod, D., & Amirie, M. (2021). An Integrated and Comprehensive Fuzzy Multicriteria Model for Supplier Selection in Digital Supply Chains. Sustainable Operations and Computers, 2(2021), 149 – 169.

พีรภพ จอมทอง นพคุณ แสงเขียว พรรษกร รอดศรีสมุทร และชูศักดิ์ พรสิงห์. (2564). การคัดเลือกผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์เหล็กโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายเหล็ก. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 31 (3). 384 – 394.

พรรณนภา กาญจนเมธากุล. (2564). การจัดลำดับปัจจัยความสำคัญในการคัดเลือกผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทพลาสติกชุบโครเมียมโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษาบริษัทประกอบรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์. (2565). การพัฒนาเครื่องมือการประเมินผู้ส่งมอบเชิงกลยุทธ์ กรณีศึกษาผู้ส่งมอบวัตถุดิบไม้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์. วิศวสารลาดกระบัง, 39 (2), 27 – 43.

ธนะรัตน์ รัตนกูล, กันต์ธมน สุขกระจ่าง, นิอัสรา หัดเลาะ และอัญชลี ศรีรัตนา. (2561). ปัจจัยในการตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ในการจัดส่งวัตถุดิบอาหารทะเล กรณีศึกษา ร้าน ABC. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (หน้า 1429 – 1439). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

เกิดผล ก., ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร ป. เ., ชำโสม ส., & ทองคำ ด. (2023). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบของผู้ผลิตผลไม้แปรรูปด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(3), 67–78. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/143