การศึกษาความเข้มข้นของเครือหมาน้อยและความเหมาะสมของปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์เยลลี่เครือหมาน้อยพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ โมทะจิต โรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจ กรุงเทพ
  • รุจิกานต์ เส้งเอียด โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล
  • เชาวลิต อุปฐาก คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

เครือหมาน้อย, ปริมาณน้ำตาล, เยลลี่พร้อมดื่ม, เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) ศึกษาความเข้มข้นของเครือหมาน้อยที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มต่อน้ำเปล่า และ 2) ศึกษาปริมาณความหวานจากน้ำตาลที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่ม และ3) เพื่อประเมินผลการทดลองส่วนผสมของเครือหมาน้อยและปริมาณความหวานในผลิตภัณฑ์เยลลี่เครือหมาน้อยพร้อมดื่ม ใช้วิธีการศึกษาโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) ทำการประเมินทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ด้วยวิธีการชิมแบบให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ (9-Point Hedonic scale) จำนวนผู้ชิม 80 คน ผลการศึกษา พบว่า1) การประเมินทางประสาทสัมผัสในปริมาณความเข้มข้นของเครือหมาน้อยที่เหมาะสม ผู้ชิมให้การยอมรับสูตร 1:2 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมอยู่ระดับ 8.05 7.88 7.88 8.08 8.23 และ 8.48 ตามลำดับ และพบว่า ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การประเมินทางประสาทสัมผัสในปริมาณความหวานจากน้ำตาลที่เหมาะสม ผู้ชิมให้การยอมรับสูตรที่ 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำตาล ในด้านลักษณะที่ปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ (ความหวาน) เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมอยู่ที่ระดับ 7.68 7.59 7.61 7.80 7.75 และ 7.80 ตามลำดับ และพบว่าในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ (ความหวาน) เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่า ปริมาณความเข้มข้นของเครือหมาน้อยในเยลลี่ที่ยอมรับ คือ สูตร 1:2 และ ปริมาณน้ำตาลคือ 20 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมในการเป็นเครื่องดื่มเยลลี่เครือหมาน้อยพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ

References

สุพรรณษา เทียมประสิทธิ์. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม. บริษัท วี. พริ้นท์.

จำลองลักษ์ หุ้น, รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์, อภิสิทธิ์ ประสงสงค์สุข, สุธาสิณี นามบุตร และปราโมทย์ ทองขาว. (2553). JELLY (พิมพ์ครั้งที่ 2). แม่บ้าน.

จริยา เดชกุญชร. (2549). สุดยอดเบเกอรี่. ม.ป.ท.

ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์. (2555). การผลิตเครื่องดื่มและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

กัญจนา ดีวิเศษ และ อร่าม คุ้มวงษ์. (2541). ผักพื้นบ้าน. สถาบันการแพทย์แผนไทย, กรุงเทพฯ.

สุดารัตน์ หอมหวล. (2553). เครือหมาน้อย. Sutir. http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/handle/123456789/3916

พรประภา ชุนถนอม, กรรณิการ์ สมบุญ, สุดารัตน์ สกุลคู และ อรนุช สีหามาลา. (2556). ผลของวิธีการสกัดต่อคุณภาพของเพคตินจากใบเครือหมาน้อยในเทือกเขาภูพาน. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยข่อนแก่น.

กองโภชนาการ กรมอนามัย. (2544). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

วิทยา บุญวรพัฒน์. (2560). 40 สรรพคุณและประโยชน์ต้นกรุงเขมา (เครือหมาน้อย). Medthai. https://www.medthai.com

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2542). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม แยม เยลลี่ และ มาร์มาเลด (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

อบเชย วงศ์ทองและขนิษฐา พูลผลกุล. (2558). หลักการประกอบอาหาร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.

รีดเดอร์ส ไดเจสท์. (2543). รู้คุณรู้โทษโภชนาการ. บริษัทรีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด.

สรจักร ศิริบริรักษ์. (2547). เภสัชโภชนา. ม.ป.ท.

นิธิยา รัตนาปนนท์. (2557). เคมีอาหาร. โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

โมทะจิต จ., เส้งเอียด ร., & อุปฐาก เ. (2023). การศึกษาความเข้มข้นของเครือหมาน้อยและความเหมาะสมของปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์เยลลี่เครือหมาน้อยพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(3), 57–66. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/142