การพัฒนาระบบการจัดเก็บและกระบวนการหยิบสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา: บริษัท จัดจำหน่ายสินค้าประเภทไอที จำกัด

ผู้แต่ง

  • สมชาย เปรียงพรม ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กรรณิการ์ เกิดแก้ว ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบการจัดเก็บสินค้า, กระบวนการหยิบสินค้า, คลังสินค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้า 2) พัฒนาระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้า และ 3) จัดทำคู่มือปฏิบัติงานระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้า โดยวิธีการวิจัยทดลองเชิงปฏิบัติการ กรณีศึกษาในบริษัท จัดจำหน่ายสินค้าประเภทไอที จำกัด จากการศึกษาระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้าด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล วิเคราะห์ปัญหาด้วยเทคนิคการระดมสมอง และแผนภาพแสดงเหตุและผล พบว่า ระบบการพนักงานใช้เวลาในการค้นหาสินค้าและหยิบสินค้านานเกินความจำเป็น เนื่องจากไม่มีการกำหนดรหัสโลเคชั่น และการจัดทำป้ายรหัสโลเคชั่น รวมทั้งไม่มีการบันทึกตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า และคู่มือในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้พนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง จากการนำการกำหนดรหัสโลเคชั่นให้กับ Selective Rack และ Micro Rack การจัดทำป้ายโลเคชั่นแบบบาร์โค้ด พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานหยิบสินค้า ผลการศึกษา พบว่า สามารถลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า จากเดิมใช้เวลาหยิบสินค้าเฉลี่ย 315.53 วินาที ต่อรอบการหยิบสินค้า หรือ 5.15 นาที ต่อรอบการหยิบสินค้า หลังจากการปรับปรุงสามารถลดเวลาหยิบสินค้าเฉลี่ยเหลือเพียง 137.36 วินาทีต่อรอบการหยิบสินค้า หรือ 2.16 นาทีต่อรอบการหยิบสินค้า ซึ่งเวลาในการหยิบสินค้าลดลงถึง 178.17 วินาที หรือ 2.57 นาที คิดเป็นร้อยละ 56.46 และการมีคู่มือทำให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและรวดเร็ว ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

References

อชิระ เมธารัชตกุล (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุพงศ์ ดารากัย และ ศักดิ์ชาย รักการ (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าในธุรกิจเครื่องกำเนิดไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(1)

สุนันทา อนันต์ชัยทรัพย์ ชุมพล มณฑาทิพย์กุล (2564). การปรับปรุงการจัดวางตำแหน่งสินค้าภายในคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ โคราช จำกัด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล, 9(2)

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และกฤติยา เกิดผล. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า. [โครงงานวิจัย, วิทยามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. Eresearch.

รัชเก้า ธำรงธรรม และศุภกรณ์ เปี่ยมหน้าไม้. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บวัตถุดิบประเภทผ้า กรณีศึกษา บริษัทประยุกต์ สปอร์ตซัพพลาย จำกัด. [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธัญกมล ทองก้อน และลภนภัทร ตุลยลักษณ์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา: โรงงานผลิตและจัดจำหน่ายแท็งก์น้ำ. [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เจนรตชา แสงจันทร์. (2562) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ กรณีศึกษา บริษัท แห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิยะดา ธนสรรวนิช (2558). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปวีณ์กร นันทพล และโสภาวรรณ แย้มแสง. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัท XXX. [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา. (2563). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) 2563. สำนักแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ. สืบค้นจาก https://qao.payap.ac.th/assets/files/WIWP-Manual.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04