การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรด้านการบริหารที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านพฤติกรรมของพนักงานในบริษัท บีเอ็นจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ผู้แต่ง

  • ปราโมช ธรรมกรณ์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ดวงฤทัย ดวงพรม ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

องค์กร, ความผูกพัน, การบริหาร, พฤติกรรมของพนักงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรด้านการบริหาร 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรด้านพฤติกรรมของพนักงาน และ 3) ความผูกพันต่อองค์กรด้านบริหารที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านพฤติกรรมของพนักงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 169 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรด้านการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านงาน ด้านคุณภาพชีวิต ด้านค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร ด้านระเบียบปฏิบัติขององค์กร ด้านบุคลากร ด้านรางวัล และด้านโอกาส ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรด้านพฤติกรรมของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านการดำรงอยู่ ด้านการพยายาม และ ด้านการพูด ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรด้านบริหาร ใน ด้านงาน ด้านโอกาสและด้านคุณภาพชีวิต มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านพฤติกรรมของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กนกพร กระจางแสง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 116-129.

ขวัญลภา กุลสรัสพร และทศพร มะหะหมัด. (2562). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันของพนักงาน บริษัทอนลา เยม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 102-110.

Steers, R.M., & Porter, L.W. (1983). Motivation and Work Behavior. New York. : McGraw – Hill.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปริยนุช ปัญญา และสุจินคา เจียมศรีพงษ์. (2557). ศึกษาเรื่อง ความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมเชรามิกของจังหวัดลำปาง. ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปาริชาต บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย (จํากัด). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิจิตตรา ปานดี. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

จิรวัฒน์ ถนอมธรรม. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ สำนักงานเลขานุการ สำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

ศิริวรรณ แม้นศิริ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04