การพัฒนาสูตรข้าวเกรียบรสแกงเขียวหวาน

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ โกมลปาณิก พรทิพย์ โกมลปาณิก คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุทธิรัก แซ่ลิ่ม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • เชาวลิต อุปฐาก คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาสูตร, ข้าวเกรียบ, แกงเขียวหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) คัดเลือกสูตรข้าวเกรียบที่ดีที่สุดจากสูตรพื้นฐาน 4 สูตร เพื่อนำมาพัฒนาข้าวเกรียบรสแกงเขียวหวาน 2) เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของน้ำพริกแกงเขียวหวานในข้าวเกรียบรสแกงเขียวหวาน และ 3) พัฒนาสูตรข้าวเกรียบรสแกงเขียวหวาน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองภาคสนาม โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) ใช้วิธีการประเมินคุณภาพของข้าวเกรียบด้วยการรับรู้ทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และความชอบโดยรวม ด้วยแบบสอบถามระดับความชอบแบบ 9 ระดับ (9-Point Hedonic Scale) ผู้ทดลองชิม ได้แก่ อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน (Analysis of Variance, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) ผลการศึกษาพบว่าสูตรพื้นฐานสูตรที่ 1 ได้รับคะแนนความชอบต่อคุณลักษณะของข้าวเกรียบพื้นฐานจากผู้ประเมินมากที่สุดและอยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และความชอบโดยรวมที่ค่าเฉลี่ย 7.98 7.97 7.93 8.07 8.20 และ 8.20 ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าคุณลักษณะในทุกด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการทดลองปรุงรสข้าวเกรียบ พบว่า ปริมาณที่เหมาะสมของพริกแกงเขียวหวานในผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบอยู่ในระดับที่ร้อยละ 10 ของน้ำหนักของแป้งทั้งหมดเมื่อประเมินคุณภาพด้วยวิธีการรับรู้ทางประสาทสัมผัส พบว่า อยู่ในระดับความชอบมาก ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และความชอบโดยรวมที่ค่าเฉลี่ย 8.49 8.29 8.19 8.38 8.38 และ 8.46 ตามลำดับเมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าคุณลักษณะในทุกด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สูตรข้าวเกรียบรสแกงเขียวหวาน เป็นสูตรข้าวเกรียบพื้นฐานสูตรที่ 1 ผสมกับปริมาณน้ำพริกแกงเขียวหวานร้อยละ 10 ของน้ำหนักแป้งข้าวเกรียบ

References

อภิญญา มานะโรจน์. (2548). ข้าวเกรียบชุดวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์แม่บ้าน, กรุงเทพฯ.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2546). ข้าวเกรียบ. Foodnetworksolution. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3719

ศรีสมร คงพันธุ์. (2560). อาหารไทยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ส.ส.ส.ส, กรุงเทพฯ.

วไลภรณ์ สุทธา. (2559). เอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.

เสาวนีย์ ลาดน้อย และ อบเชย วงศ์ทอง. (2560). การพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพข้าวเกรียบงาจากปลายข้าวสินเหล็ก. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1).

สกุลตรา ค้ำชู. (2558). ข้าวเกรียบจากแป้งผสมชะครามแห้ง. วารสารบทคัดย่อ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(6), 513-523.

สกุลตรา ค้ำชู. (2560). การผลิตน้ำพริกแกง หรือเครื่องแกงเผ็ดของไทยจากพริกหวานสดและแห้งต่อการยอมรับของผู้บริโภค. eresearch.ssru. http://www.eresearch.ssru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/

จุฑารัตน์ พงษ์โนรี และ บังอร ธรรมศิริ. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบรากบัว. มหาวิทยาลัยราชภัฎวลัยอลงกรณ์

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2559). ไทยจานโปรด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงแดด.

จงทิพย์ อธิมุตติศรรค์. (2547). ของว่างไทย. ภูเก็ต: วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต.

วิภาวรรณ วงศ์สุดาลักษณ์. (2562). การประยุกต์ใช้ฟลาวร์เมล็ดจำปาดะในผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา:ม.ป.ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

พรทิพย์ โกมลปาณิก พ. โ., แซ่ลิ่ม ส., & อุปฐาก เ. (2023). การพัฒนาสูตรข้าวเกรียบรสแกงเขียวหวาน. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(2), 57–66. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/131