ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย

ผู้แต่ง

  • ณฐพงศ์ ผาสุข หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วีรศักดิ์ ประเสริฐชูวงศ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, กลุ่มอ้างอิง, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันด้านอายุมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 21.6 และปัจจัยกลุ่มอ้างอิง พบว่า กลุ่มเพื่อน กลุ่มผู้มีชื่อเสียงหรือศิลปินและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 26.1

References

Longtunman. (2019). ธุรกิจกีตาร์ กำลังฝันร้าย. https://www.longtunman.com/12554.

Thaipbs. (2018). ธุรกิจ “กีตาร์” ทรงตัว คาดอีก 20 ปีคนเล่นลดฮวบตามอเมริกา. https://news.thaipbs.or.th/content/273560.

Hanna and Wozniak (2001) Shiffman and Kanuk (2003). Consumer Behavior. New Jersey: Prentice Hall.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จำกัด.

McCarthy, E.J. and Perreault, W.D. (1993). Basic Marketing: A Global-Managerial Approach. (11st ed). Homewood, Ill: Richard D. Irwin.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อดุลย์ จาตุรงคกุล, และ ดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Kotler Phillip. (2000). Marketing Management. New Jersey.

Schiffman, L., & Wisenblit, J. (2015). Consumer Behavior. Boston. Pearson Education Limited.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทย์พัฒนา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. และคณะ (2552). ส่วนประสมการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสารจำกัด.

Tyagi, C. L., & Kumar, A. (2004). Consumer Behavior. New Delhi: Mehra Offset.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John wiley & Sons.

วัชริศ หาญสุทธิวงศ์ (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อกีตาร์ของประชาชนในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล.มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

ก่อฤกษ์ ละอองกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหูฟังของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นราพงษ์ วันดี (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ศูนย์กรุงเทพ”มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

ธันวาพล จันทร์จีน. (2559). ภาพลักษณ์และค่านิยมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาแบรนด์เนมของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

ผาสุข ณ., & ประเสริฐชูวงศ์ ว. (2023). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(2), 46–56. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/130