ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของศาลแพ่ง: วิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน

ผู้แต่ง

  • พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์ สาขาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • นพพร จันทรนำชู ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พงษ์สันติ์ ตันหยง สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ชนันชิดา ชัชศิริกูล สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, ศาลแพ่ง, กำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของศาลแพ่ง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรศาลแพ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 255 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัย พบว่า ตัวแบบมีความเหมาะสมและมีความเชื่อถือได้ เชิงจำแนก ซึ่งตัวแบบโดยรวมมี SRMR < .08 ส่วนตัวแบบการวัดมี α, CR, ρA > .70 AVE > .05 และ HTMT < โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการองค์กร และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการจัดการความรู้และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการความรู้ และมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่วนการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ณ ระดับนัยสำคัญ .05 งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าผู้นำขององค์กรควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การจัดการองค์กร เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

References

Rowden, R.W. (2001). The Learning Organization and Strategic Change. SAM Advanced Management Journal, 66(3), 11-16.

Senge, P.M. (2006). The Fifth Discipline: The Art and Practice of The Learning Organization. (2nd ed). London: Century Press.

Ubben, G.C., Hughes, L.W. & Norris, C.J. (2015). The Principal: Creative Leadership for Excellence In Schools. (8th ed). London: Pearson.

Bhatti, W.A., Hussain, N., & Iqbal, J. (2013). Leadership Role in Integrating Knowledge Management Enablers. World Applied Sciences Journal, 26, 55-60.

นิมิตร โสชารี. (2559). รูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 27-52.

Celep, C. & Cetin, B. (2005). Teacher’ S Perception About the Behaviors of School Leaders with Regard to Knowledge Management. International Journal of Educational Management, 19(2), 102-117.

Garvin, D.A. (1993). Building a learning organization. Harvard Business Review, 71(4), 78-91.

Debowski, S. (2006). Knowledge management. Sydney: John Wiley & Sons.

Marquardt, M.J. (2002). Building the Learning Organization: Mastering The 5 Elements for Corporatelearning. (2nd ed). CA: Davies-Black Publishing.

กัญยาภักษณ์ พะระนะพันธ์ และสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2556). การเป็นองค์กรแห่งความสุขกับการจัดการความรูและการมีส่วนร่วมที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบัณฑิต. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(2), 117-127.

Swart, J., Mann, C., Brown, S., & Price, A. (2008). Human Resource Development: Strategy and Tactics. Butterworth Heinema: Oxford.

Bass, B.M. & Avolio, B.J. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Thousand Oaks, CA: SAGE.

Boris, K. & Jens, G. (2019). HR Governance: A theoretical Introduction. Springer: Cham, Switzerland.

Certo, S.C. Modern management. (8th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hell.

Schreiber, J., & Nora, A., & Stage, F. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Education Research, 99(6), 323-338.

Rademaker, M.E. & Schuberth, F. (2020). cSEM: Composite-Based Structural Equation Modeling. Package version: 0.4.0.9000. https://m-e-rademaker.github.io/cSEM/.

Henseler, J., Ringle, C.M. & Sinkovics, R.R. (2009). The Use of Partial Least Squares Path Modeling in International Marketing. In Sinkovics R.R., Ghauri, P.N, (Eds.) Advances in international marketing. (pp. 277-320). Bingley: Emerald.

Fornell, C. & Larcker, D.F. (1981). Evaluating Structural Equation Models with Unobservable Variables and Measurement Error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39-50.

Henseler, J., Ringle, C.M. & Sarstedt, M. (2015). A New Criterion for Assessing Discriminant Validity in Variance-Based Structural Equation Modeling. Journal of the Academy of Marketing Science, 43(1), 115-135.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. Multivariate Data Analysis. (8th ed). Cengage: UK.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล และภัทราทิพย์ ทรงบุญญา. (2558). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 115-136.

รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ไชยสิทธิ์ ปิยมาตย์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการของกองทัพบก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04