การเพิ่มผลิตภาพสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

ผู้แต่ง

  • ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ บริษัทบีที คอร์ปอเรชั่น จำกัด

คำสำคัญ:

การเพิ่มผลิตภาพ, อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพการดำเนินธุรกิจ และอุตสาหกรรม ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี ส่งผลทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัว สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ SMEs ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สนับสนุนอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น องค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การเพิ่มผลิตภาพการผลิตเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรอยู่รอด แนวทางในการสร้างการเพิ่มผลิตภาพให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้บริหารควรเลือกแนวทางการปฏิบัติ และเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมกับปัจจัย และความพร้อมขององค์กร โดยมีการประเมิน การวัดการเพิ่มผลิตภาพ การวางแผนผลิตภาพ และการพัฒนาผลิตภาพ ผลลัพธ์ที่ได้จากการเพิ่มผลิตภาพคือ การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน และสร้างกำไร และการเติบโตอย่างยั่งยืน

References

คมน์ พันธรักษ์. (2563). ผลการสำรวจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). Thammasat Business School. https://www.tbs.tu.ac.th/wp-content/uploads/2020/04/TBS-Insights.pdf

ธนาคารโลก. (2563, 20 มิถุนายน). รายงาน : ผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ. worldbank. https://www.worldbank.org/th/news/press-release/2020/06/30/major-impact-from-covid-19-to-thailands-economy-vulnerable-households-firms-report

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2555). การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนของ SMEs (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว และคณะ. (2544). หลักการเพิ่มผลผลิต. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

Sumanth, David J. (1998). Total Productivity Management. Florida : St.Luice Press.

ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ สักรินทร์ อยู่ผ่อง และคณิต เฉลยจรรยา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการในสายการผลิตสำหรับหัวหน้างาน เพื่อการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(1), 82-90.

สักรินทร์ อยู่ผ่อง อัคครัตน์ พูลกระจ่าง และปราโมช ธรรมกรณ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารการจัดการสมัยใหม่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 16(1), 25-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

พงษ์วารินทร์ ท. (2023). การเพิ่มผลิตภาพสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(3), 91–97. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/118