การรับรู้ข้อมูลองค์กรของพนักงานใหม่ตามแนวคิด PMQA 4.0 กรณีศึกษา : องค์การมหาชนแห่งหนึ่งที่เน้นการถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐิรา หอพิบูลสุข ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ฉัตรธรรม สุขเสมอ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การรับรู้ข้อมูลองค์กร, แนวคิด PMQA 4.0, พนักงานใหม่, องค์การมหาชน

บทคัดย่อ

การรับรู้ข้อมูลองค์กรของพนักงานใหม่ตามแนวคิด PMQA 4.0 กรณีศึกษา : องค์การมหาชนแห่งหนึ่งที่เน้นการถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข้อมูลองค์กรของพนักงานใหม่ที่เริ่มเข้าทำงาน ปี พ.ศ. 2562-2563 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 19 คน อายุระหว่าง 20-30 ปี มีอายุงาน 1 ปี และส่วนใหญ่อยู่ในฝ่ายที่ใช้องค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เมื่อพิจารณาการรับรู้ข้อมูลขององค์กรของพนักงานใหม่ (องค์การมหาชน) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ 1) การรับรู้ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.78) 2) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญขององค์กรภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ = 3.77) 3) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์องค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.73) 4) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระดับองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.59) และ 5) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเชิงกลยุทธ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.41) สรุปได้ว่า พนักงานใหม่สามารถรับรู้ข้อมูลองค์กรที่ใช้รูปแบบการนำเสนอแบบ PMQA 4.0 ในระดับที่สามารถในไปปรับใช้ในการทำงานได้

References

Aguinis, H. (2017). Performance Management. (Eds. 4th). New Jersey : Pearson Education.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.). (2544). คู่มือการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2564). การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ก.พ.ร. องค์การมหาชน. https://po.opdc.go.th/content/MTY2Mg.

Baldrige Award (2015, 15 November). Baldrige Excellence Framework: A Systems Approach to Improving Your Organization's Performance. National Institute of Standards and Technology (NIST). https://www.nist.gov/baldrige/2017-2018-baldrige-excellence-framework

แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยเส็ง.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York : David McKay.

บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

เอื้อการย์ สันติศิริ. (2545). การสื่อสารกับการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภชา เกรียงไกร และคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของกรมชลประทาน. (โครงการศึกษาวิจัย, ส่วนวิเคราะห์นโยบายกองแผนงาน). กรุงเทพฯ : กรมชลประทาน.

จุฑาจิตร ประดิษฐ์เจริญ และบังอร โสฬส. (2560). บทบาทของอัตลักษณ์องค์การ และความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ผ่านความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกลักษณ์ ธรรมมา และนิตยา สนเธาว์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของเรือนจำกลางเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04