การตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน

ผู้แต่ง

  • นิฤมล มณีสว่างวงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
  • ประชา ตันเสนีย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต / อนุกรรมการตรวจสอบ สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

การตระหนักรู้, มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน และ (2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับ การตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างแบบใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแจกแจงความถี่ และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี ประเภทของหน่วยงานเอกชน ฯ ประเภทตำแหน่งงานระดับผู้ปฏิบัติ และประสบการณ์ทำงาน ไม่เกิน 5 ปี โดยพบว่า (1) ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับมาก และ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และ (2) ผลการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประสบการณ์ ที่มีความแตกต่างส่งผลต่อความคิดเห็นของการตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

อธิษฐาน จันทร์กลม. (2561, 23 สิงหาคม). บัณฑิตตกงาน บทสะท้อนคุณภาพการศึกษาชาติ. Matichon. https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen- scoop/news_1223338

เนตรปรียา ชุมไชโย (2561, 5 พฤศจิกายน). ทำไมคะแนนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงย่ำแย่ มาติดกัน 8 ปีแล้ว. บีบีซี นิวส์ ไทย. https://www.bbc.com/thai/thailand-46093794

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2563, 11 ธันวาคม). วิกฤติบัณฑิตตกงาน. การสัมภาษณ์ สยามรัฐออนไลน์. Siamrath .https://siamrath.co.th/n/203

สยามรัฐออนไลน์. (2563, 11 ธันวาคม). วิกฤติบัณฑิตตกงาน. Siamrath .https://siamrath.co.th/n/203528] 2. https://siamrath.co.th/n/203528

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. (2562, 4 ธันวาคม). 10 ซีอีโอยักษ์ใหญ่เรียนจบอะไร. Efinancethai. ://www.efinancethai.com/efinReview/efinReviewMain.aspx?release=y&name=er_201912041546

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2561, 17 สิงหาคม). เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561. ratchakitcha. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/199/T19.PDF

กุลวดี สุดหล้า. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตระหนักด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง กรณีศึกษา : บริษัทนำเข้าส่งออกแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พีรพร ทองขะโชค และอาคม ใจแก้ว. (2562). ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยการจัดการ, 30(1), 23-51.

มินตรา ภูริปัญญวานิช. (2561, 5 พฤศจิกายน). ทำไมคะแนนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงย่ำแย่ มาติดกัน 8 ปีแล้ว. บีบีซี นิวส์ ไทย. https://www.bbc.com/thai/thailand-46093794

ปฐมภูมิ วิชิตโชต. (2559). ศึกษาการประยุกต์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกรณีศึกษาการใช้งานโปรแกรม GLPI ของพนักงานบริษัทในเครือวาลีโอ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกภาวิน สุขอนันต์ (2562, 18 กรกฎาคม). ประสบการณ์การทำงานแบบดิจิทัล สำคัญกับพนักงานอย่างไร. Matichon. https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_1586755

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

มณีสว่างวงศ์ น., & ตันเสนีย์ ป. (2023). การตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(3), 39–48. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/114