ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์

ผู้แต่ง

  • นายมนตรี จันทร์เพชร บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด

คำสำคัญ:

เจตคติ, ความปลอดภัย, พฤติกรรมของพนักงาน, ในการทำงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยในการทำงานกับพฤติกรรม ด้านความปลอดภัยในการทำงานของฝ่ายผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัย 2) พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากร ได้แก่ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฝ่ายผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D t- test F- test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson (Pearson's Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุต่ำกว่า 28 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติงานน้อยกว่า 5 ปี และมีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี โดยปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงาน ปฏิบัติงานในหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผลการศึกษา พบว่า พนักงานมีเจตคติด้านความปลอดภัยในการทำงาน และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานในระดับมากที่สุด และเมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า เจตคติด้านความปลอดภัยในการทำงานอันดับแรก ได้แก่ ความสุขที่ได้ทำงานในสถานที่ที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค ส่วน พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่บริษัทจัดให้เมื่อปฏิบัติงาน เจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยในการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก

References

ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2542). คุณภาพชีวิตการทํางานกับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษา บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิวพร เล็งไพบูลย์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเครียดในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสำรวจที่นั่งของบริษัทการบินไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Deng, L., Zhong, M., Liao, L., Lai, P. and Lai, S. (2019). Research on Safety Management Application of Dangerous Sources in Engineering Construction Based on BIM Technology. Advances in Civil Engineering, 2019(-), 1-10. https://doi.org/10.1155/2019/7450426

Hinkle, D. E., Wiersma, William, and Jurs, S. G. (2003). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. (5th ed.). N.Y.: Houghton Mifflin.

จิณณพัต พูนสวัสดิ์ และ สุพรรณ ปล่องกระโทก. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัยกับการปฏิบัติตามหลักการ 5 ส ของพนักงานช่างไฟฟ้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Katz, D. (1960). The Functional Approach to the Study of Attitudes. Public Opinion Quarterly, 24(2), 163-204.

Belkin Gary S and Skydell R H (1979). Foundation of Psychology. Boston: Hougton Mifflin.

Foster, C. R. (1975). Psychology for Life Adjustment. Chicago: American Technician Society.

Lazareto, Reyes, Joseph Anthony. (2014). Environmental Attitudes and Behaviors in The Philippines. Journal of Educational and Social Research MCSER Publishing. 4(6), 87-102. DOI: 10.5901/jesr.2014.v4n6p87

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

จันทร์เพชร น. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(3), 14–23. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/112