การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ และการบริหารความเสี่ยงของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มสารสกัดแพนดูเรทินเอและพินอสตรอบินของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)

ผู้แต่ง

  • ชนพล แสงเรืองรอง ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศุภกร เจริญประสิทธิ์ ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชุษณา เทียนทอง ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การบริหารโครงการ, การบริหารความเสี่ยง, เส้นทางวิกฤติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เส้นทางวิกฤติของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ และ 2) วิเคราะห์และศึกษาแนวทางบริหารเสี่ยงของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ โดยจากการศึกษารายละเอียดของโครงการ ตามที่มีการขอขยายระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้วิจัยเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์และศึกษาแนวทางในการบริหารความเสี่ยงของโครงการดังกล่าว โดยจากการตรวจสอบการบริหารโครงการของนักวิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการและการวางแผนการดำเนินงาน พบว่ามีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้จึงทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ได้ มาช่วยในการวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติของโครงการ ด้วยเทคนิค CPM (Critical Path Method) ผลการวิเคราะห์ พบว่า โครงการมีกิจกรรมวิกฤติทั้งหมด 11 กิจกรรมจากทั้งหมด 13กิจกรรม อันเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ไม่มีแผนบริหารจัดการในสภาวะฉุกเฉิน และไม่มีแผนการรองรับความเสี่ยง แนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะควบคุมสาเหตุได้แก่ ควรจัดให้มีการออกแบบฟอร์มรายงานความเสี่ยงและการติดตามโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกของกรรมการผู้ติดตามโครงการให้สามารถนำมาใช้ในการควบคุมและติดตามให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดการที่ตั้งไว้ได้

References

Yimsukpaitoon, T. (2018). Risk Management in Import of Hazardous goods business: Case study of T Co., LTD. [Master of Management Program in Management]. Mahidol University. (in Thai)

Nithikarnjanatharn, J., & Swangnaam, T. (2018). Project Management of Constructions Activity Networkin Construction Fiber to The X (FTTx) At the NGV Station in Case of The PTT NGV Gas Station in Thammasat Center Rangsit. The 5th Phayao Research Conference, 5(67), 659-672. (in Thai)

Chatuchinda, P., & Sunthonseni, S. (2020). The Project Management Guideline to Prevent Delays: A Case Study of New Custody Metering LPG of Rayong Gas Separation Plant. [Master of Business Administration Program]. University of the Thai Chamber of Commerce. (in Thai)

Atarakanlp, P., Muangnoi, W., & Teerajatekul, W. (2022). Problems in Construction Project Management A Case Sturdy of a Government Hospital Building. The 27th National Convention on Civil Engineering, 27(1), CEM14-1 – CEM14-10. (in Thai)

Jetsadalak, P. (2013). Construction Management and Monitoring for Tardiness reducing: The cast study company. [Master of Engineering in Engineering Management]. Silpakorn University. (in Thai)

Wangpakklang, S. (2012). A Study and Risk analysis of High-Rise Buildings in Pattaya. [Master of Engineering in Engineering Management]. Suranaree University of Technology. (in Thai)

Sukprasert, A. (2016). Application of PERT/CPM Techniques in Activity Management in Housing Construction. [Master of Engineering, Industrial Engineering]. Burapha University. (in Thai)

Thailand Center of Excellence for Life Sciences. (2020). Thailand Center of Excellence for Life Sciences Risk Management Handbook. tcels. https://www.tcels.or.th/Home (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29