การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึงอินซูลินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • กูอัณวาร์ กูเมาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะหัก
  • นูรซีตา เพอแสละ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อนุพนธ์ อุมา นักวิทยาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ประมวลผลการวิจัยนี้ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 63 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยายและรูปแบบเชิงพรรณนา คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G* power เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ด้านสุขภาพ ส่วนที่ 4 แบบสอบถามการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ข้อค้นพบ: ข้อมูลด้านปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันไม่มีผลต่อการลดของการเหนี่ยวนำการเป็นโรคเบาหวาน แต่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมีความตระหนักรู้มากขึ้นจากการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและดูแลตนเอง และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ทั้งนี้กรรมพันธุ์ก็มีส่วนเหนี่ยวนำของการเกิดเบาหวานด้วยเช่นกัน

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์.

กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์, นิภา มหารัชพงศ์ และยุวดี รอดจากภัย. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สอง. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 31(2), 151-163.

เกษฎภรณ์ นาขะมิน, เสกสรร ผ่องแผ้ว และวรนุช ไชยวาน. (2560). พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านธาตุ. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences, 1(2), 56-63.

ชวนพิศ สุนทรศารทูล. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(1), 9-20.

ซูไฮนี ดอเลาะ และโนเยาฮารี สาและ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา. Thammasat University Hospital Journal Online, 4(3), 27-30.

มาโนชญ์ แสงไสยาศน์. (2564). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุ โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(3), 59-70.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก. (2564). การคัดกรองเบาหวานในประชากรไทย จำแนกกลุ่มอายุ จังหวัดปัตตานี อำเภอปะนาเระโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ปีงบประมาณ 2564. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567 จาก https://ptn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=150edaa99ecbe538378b8150e0776763

วนิดา ศรีริภาพ. (2564). พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 1(2), 57-68.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี. (2564). ฐานข้อมูล HDC จังหวัดปัตตานี. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567 จาก https://ptn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สุพรรษา สุวรรณสิรินนท์ และรัฐพล ไกรกลาง. (2566). การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(3), 135-146.

อนงค์ลักษณ์ เคนสุโพธิ์ และอรอนงค์ ดีแดง. (2567). รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลสะสมสูงเกินเกณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(1), 29-41.

อภิญญา ถามูลแสน. (2567). ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 9(1), 257-266.

Best, J. W. (1980). Research in education. 4th edition. New Jersey: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis

Hurst, B., Johnston, K.A., & Lane, A.B. (2020). Effective communication strategies in public health campaigns. Journal of Health Communication, 35(2), 123-145.

Lou, Q. (2019). Impact of Tuberculosis Control Measures in Southeast Asia. Journal of Public Health, 23(4), 234-256.

Pender, N.J. (1998). Health Promotion in Nursing Practice. New York: Appleton and Lange.

Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

กูเมาะ ก., เพอแสละ น., & อุมา อ. (2024). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึงอินซูลินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. วารสารพิพัฒนสังคม, 1(3), 27–40. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/967