รูปแบบความสัมพันธ์ของเครือข่ายพลัง “บวร” กับความมั่นคงทางอาหาร

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • กัลยาภัสร์ อภิโชติเดชาสกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

รูปแบบความสัมพันธ์, เครือข่ายพลัง “บวร”, ความมั่นคงทางอาหาร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความมั่นคงทางอาหาร และ (2) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของเครือข่ายพลัง “บวร” กับความมั่นคงทางอาหาร

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มย่อย และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ
สามเส้า

ข้อค้นพบ: รูปแบบความสัมพันธ์ของเครือข่ายพลัง “บวร” กับความมั่นคงทางอาหาร มีลักษณะเป็นเครือข่ายหลายระดับที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างกว้างขวาง และเป็นเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ การสร้างเครือข่ายเริ่มจากความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะร่วมที่เกิดจากความรู้สึกเป็นคนบ้านเดียวกัน มีรากฐานบรรพบุรุษร่วมกัน
มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน มีการขยายเครือข่ายทั้งแนวราบและแนวดิ่งผ่านการมีปฎิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนที่มีขอบเขตชัดเจน มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์เชิงซ้อนแม้จะมีจุดมุ่งหมายร่วมเดียวกันอยู่บนพื้นฐานของแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นหลัก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งที่สมดุลและไม่สมดุล ซึ่งช่วงเวลาของความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ส่วนตัวของสมาชิกในเครือข่าย

 

References

งานนโยบายและแผน เทศบาลตำบลหนองน้อย. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) เทศบาลตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. ชัยนาท: เทศบาลตำบลหนองน้อย.

เทศบาลตำบลนางลือ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เทศบาลตำบลนางลือ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท. ชัยนาท: เทศบาลตำบลนางลือ.

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์, ดุษฎี อายุวัฒน์ และอรนัดดา ชิณศรี. (2554). หมุดยึดคนกระจาย: เครือข่ายทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 7(3), 27-52.

ธาดา วรรณธนปิยกุล, ทองอินทร์ ไหวดี, สิงหา จันทริย์วงษ์ และปิยศักดิ์ สีดา (2565). “บวร” เพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของชาติพันธุ์ไทย-ลาว หลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(3), 93-104.

พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวรตามศาสตร์พระราชา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(4), 120-132.

ศิริพร วัชชวัลคุ. (2558). ความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความมั่นคงทางอาหาร: การจัดการเรื่องความมั่นคงทางอาหารภายใต้ภาวะฉุกเฉินของอาเซียน. ปทุมธานี: ศูนย์ดิเรกชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานจังหวัดชัยนาท. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดชัยนาท 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน. ชัยนาถ: สำนักงานจังหวัดชัยนาท.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2566). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26