สถานการณ์ความยากจน และกลไกการท่องเที่ยวเชิงชุมชนโดยใช้ครัวเรือนยากจนเป็นฐานในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
ทักษะการท่องเที่ยวชุมชน, สถานการณ์ความยากจน, ครัวเรือนยากจน, พื้นที่เกาะหมาก, กลไกการจัดการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ความยากจนในพื้นที่เกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงและวิเคราะห์กลไกการท่องเที่ยวเชิงชุมชนโดยใช้ครัวเรือนยากจนเป็นฐาน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กำหนดพื้นที่แบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์และใช้การวิจัยภาคสนาม กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีเจาะจงโดยการสำรวจรายได้ของครัวเรือนเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจำนวน 100 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยจะใช้ข้อมูลตัวเลขเชิงปริมาณจำนวนคนจนทั้ง 5 มิติ
ข้อค้นพบ: กลไกการท่องเที่ยวเชิงชุมชนโดยใช้ครัวเรือนยากจนเป็นฐานมีกระบวนการปรับตัวที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของคนจนในชุมชน ซึ่งมีปัจจัยทางสังคมในมิติที่เกี่ยวข้องกับ คน กลุ่มสังคม และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจในมิติที่เกี่ยวข้องกับวิถีการผลิตและยังชีพ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน ผลที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยกลไกและทักษะการจัดการท่องเที่ยวชุมชนนั้น สามารถสะท้อนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องจากการพัฒนาครัวชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน และการพัฒนาทักษะการบริการท่องเที่ยวชุมชน ดังนั้นกลไกการท่องเที่ยวเชิงชุมชน สามารถนำไปพัฒนาชุมชนให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนต่อไป
การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: พัฒนาแผนงานและระบบจัดการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืนที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาในหลากหลายมิติทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ในทุก ๆ ขั้นตอน รวมทั้งทำให้กลุ่มคนจนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มี นำมาพัฒนาเป็นสินค้าชุมชนเพื่อสร้างรายได้ต่อไป
References
ชาตรี แก้วมา. (2549). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เชิญพร คงมา. (2564). การบริหารจัดการทำงานอย่างไร ข้อเท็จจริงอธิบายให้เข้าใจด้วยภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทวาราพับลิซิ่ง.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
ธิดารัตน์ สืบญาติ. (2565). กลไกการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 6(2), 15-30.
ภควัต รัตนราช, แสงระวี กระจ่างศาสตร์, กนกพรรณ วิบูลยศริน, และวิมล มิระสิงห์. (2565). การพัฒนาสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนคลองตะโหนด มีนบุรี บนฐานอัตลักษณ์ชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 16(1), 40-52.
ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับจังหวัดพัทลุง. (2566). การวิเคราะห์ข้อมูลทุนการดำรงชีพอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566 จาก http://www.ppaos.com/ppaos93/frontend/web/reportppaoscfa.pdf
รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2547). หลักการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566 จาก http://lib.dtc.ac.th/article/tourism/0007.pdf
วรรณษา แสนลำ ศิริพร เลิศยิ่งยศ และสุภาวดี มณีเนตร. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 54-68.
สิรินี ว่องวิไลรัตน์ วลัยลักษณ์ พันธุรี และพรรณทิมา วรรณสุทธิ์. (2565). การพัฒนากลไกการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 11-32.
สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 1-24.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Chambers, R. (2007). Poverty Research: Methodologies, Mindsets and Multidimensionality. UK: University of Sussex.
Eva, L. O. (2020). Poverty Brief: Understanding Poverty. Swiss Agency for Development and cooperation (SDC). Retrieved 25 September 2023, from https://www.shareweb.ch/site/poverty-Wellbeing.
Tourism Canada. (1990). An action strategy for sustainable tourism development: Globe’90. Ottawa: Tourism Canada.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.