ความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในวัดเขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุคนธ์ มั่นคงวาจา หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิไลลักษณ์ อยู่สำราญ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, สวัสดิการสุขภาพ, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: มุ่งศึกษาความคาดหวังการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพของพระสงฆ์ต่อวัดในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคาดหวังของพระสงฆ์ต่อการจัดสวัสดิการสุขภาพ และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกับคาดหวังการจัดสวัสดิการสุขภาพของพระสงฆ์ต่อการจัดสวัสดิการสุขภาพของวัดในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 170 รูป ผ่านแบบสอบถามความคาดหวังการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบ t-tests และ F-tests โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อค้นพบ: พระสงฆ์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 37.10) และมีระยะพรรษา 1-10 ปี (ร้อยละ 62.40) โดยส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ (ร้อยละ 89.40) และภูมิลำเนาส่วนใหญ่มาจากภาคเหนือ (ร้อยละ 28.20) ระดับความคาดหวัง พบว่า (1) พระสงฆ์มีความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการสุขภาพมากที่สุดในด้านการรักษาสุขภาพ (x̄ = 4.22, S.D. = 0.595) รองลงมาอยูในระดับมาก ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ (x̄ = 4.19, S.D. = 0.528) การป้องกันสุขภาพ (x̄ = 4.19, S.D. = 0.581) และด้านการฟื้นฟูสุขภาพ (x̄ = 4.11, S.D. = 0.632) (2) ระดับการศึกษาแผนกสามัญศึกษา (sig = .026) และแผนกบาลี (sig = .038) ที่แตกต่างกันมีความคาดหวังแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระดับการศึกษาแผนกสามัญศึกษาของพระสงฆ์ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังด้านการป้องกันสุขภาพ การรักษาสุขภาพ (sig = .026) และการฟื้นฟูสุขภาพ (sig = .012) แตกต่างกัน และพระสงฆ์ที่เปรียญธรรมที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังด้านการป้องกันสุขภาพ (sig = .015) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนการจัดสวัสดิการสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ในเขตสาทรและพื้นที่อื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดระบบสวัสดิการสุขภาพที่มีความครอบคลุม เท่าเทียม และตอบสนองต่อความต้องการของพระสงฆ์ได้อย่างแท้จริง

References

กรมอนามัย. (2560). รายงานประจำปี กรมอนามัย 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, เบญจมาศ สุขสถิตย์ และชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์. (2564). สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1798.

ชิษณุกร พรภาณุวิชญ์. (2540). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษาจังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฐาปะณี คงรุ่งเรือง. (2565). คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร “พัฒนาศักยภาพ จป. เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566 จาก https://hp.anamai.moph.go.th/th/km-research-person/download/?did=204835&id=75830&reload=

เบญจา นิลบุตร. (2540). ความคาดหวังของข้าราชการตำรวจต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาศึกษากรณีศึกษาของกองบัญชาการศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเสริฐ ปอนถิ่น, พระครูสาทรธรรมสิทธิ์, พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, สังวรณ์ สมบัติใหม่ และปุระวิชญ์ วันตา. (2563). แนวทางการมีส่วนร่วมของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขากับการจัดสวัสดิการสังคมในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 11(2), 161-164.

พระครูสิริสุตานุยุต. (2565). การฟื้นฟูสุขภาพพระสงฆ์ในมิติต่าง ๆ: กาย จิตใจ สังคม และปัญญา. วารสารวิจัยพระพุทธศาสนา, 10(2), 50-65.

พระมหานัฐพล อิสฺสรธมฺโม, พระมหาสุริยา สุริยเมธี, พระมหาสุรศักดิ์ สุรเตโช, และพระมหาสุรชัย สุรชโย. (2566). การจัดสวัสดิการด้านสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารสักทอง: สมัยใหม่ทางพระพุทธศาสนา, 29(1), 30-31.

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก. หน้า 1-18

พีระพล หมีเอี่ยม และธนัช กนกเทศ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 1-12.

มยุรี ผิวสุวรรณ, ดารณี สุวพันธ์, ปิยมาส อุมัษเฐียร, วิไลภรณ์ โคตรบึงแก, Barney, M., และ Karen, H. (2556). CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Community Based Rehebilitation). สุรินทร์: พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.

มะแอน ราโอบ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มานพ นักการเรียน. (2563). การส่งเสริมสุขภาพผ่านการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในวัด. วารสารวิจัยการพัฒนาชุมชน, 8(3), 99-112.

ระพีพรรณ คำหอม. (2557). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โรงพยาบาลสงฆ์. (2562). การอุปถัมภ์พระสงฆ์ภายใต้หลักพระธรรมวินัยโรงพยาบาลสงฆ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด.

วัชรพล ทิพย์สุวรรณพร. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2565). วัดในเขตสาทร. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/หมวดหมู่:วัดในเขตสาทร

วิเชียร สุขสำราญ. (2564). กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิตของพระสงฆ์: การจัดกลุ่มสนทนา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมบำบัดความเครียด. วารสารสุขภาพจิตไทย, 29(1), 75-88.

วิภาวดี สีตนไชย และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การรับรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), 103-111.

ศิริพร ธนานิธิ. (2563). ความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพภายในวัด. วารสารการพัฒนาสังคม, 15(2), 45-60.

สำนักงานแขวงยานนาวา. (2565). จำนวนพระสงฆ์ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานแขวงยานนาวา.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). แถลงข่าว “การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ไทย”. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562 จาก https://www.healthstation.in.th/photo/view.php?id=388

สิริวรรค์ อัศวกุล. (2528). ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานที่กำหนด ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดารัตน์ จันทร์พุธ. (2559). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุนุตตรา ตะบูนพงศ์. (ม.ป.ป.). ระบบบริการสุขภาพกับการปฏิรูประบบสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/4572/10/ch2.pdf

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ให้ห่างจากโรคเบาหวาน (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัญชลี แก้วสระศรี, รัตนา นิลเล่ือม, และชุลีพร หีตอักษร. (2560). การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทยกับแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 160-169.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334. https://doi.org/10.1007/BF02310555

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd edition). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-13

How to Cite

มั่นคงวาจา ส., & อยู่สำราญ ว. . (2025). ความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในวัดเขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารพิพัฒนสังคม, 2(1), 41–59. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1335