การจัดการโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอาหารทะเลในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อรปวีณ์ โภคาวัฒนา สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ดนวัต สีพุธสุข สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การจัดการโลจิสติกส์, การท่องเที่ยว, อาหารทะเล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: มุ่งเน้นระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหารทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึง
การมองเห็นปัญหาและความท้าทายจากมุมมองของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องการไหลของข้อมูล การขนส่งทางกายภาพ และระบบการชำระเงินที่ใช้ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ เน้นการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก การกำหนดกลุ่มประชากร เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการในร้านอาหารในพื้นที่อำเภอขนอม ท่าศาลา และสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดไว้ที่ 384 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหารในพื้นที่ดังกล่าว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ข้อค้นพบ: นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวพื้นที่อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 384 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้อยู่ในช่วง 5,000-10,000 บาท นิยมรับประทานอาหารท้องถิ่นในมื้อกลางวัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสภาพแวดล้อมจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านศักยภาพความพร้อมของสถานประกอบการ อัตลักษณ์ของอาหารทะล คุณภาพของอาหารทะเล ความคุ้มค่าของราคา และลักษณะของผู้ให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล กับการไหลทางกายภาพ การไหลทางสารสนเทศ การไหลทางการเงิน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: ผู้ประกอบการท่องเที่ยวควรลงทุนในการทำการตลาดออนไลน์และประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย รวมถึงการพัฒนาแผนที่และข้อมูลการบริการในรูปแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลของนักท่องเที่ยว การพัฒนาหรือเพิ่มเส้นทางการขนส่งสาธารณะให้สะดวกสบายและเข้าถึงได้ง่ายจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการเดินทางมายังสถานที่ท่องเที่ยว

References

กฤติเดช อนันต์. (2561). แนวทางการสร้างความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทยผ่านคุณค่าเชิงประสบการณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย, 8(6), 585–595.

ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์, พัชรี ทองคำ, กนกวรรณ มัติโก, พงศกร ไพรโต, พิชามญชุ์ ชูพุดซา และศศิศรัณย์ ฉัตรคำภู. (2562). โลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารสหศาสตร์, 18(2), 184-209

เทิดชาย ช่วยบํารุง. (2549). ชุดโครงการวาระแห่งชาติเพื่อการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว.

ธนาคารกรุงเทพ. (2562). กินเพื่อเข้าใจวิถีพื้นเมือง. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/food-tourism-lifestyle

ธานนิทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พฤกษ์ จันทนโรจน์. (2566). การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้อาหารไทยในฐานะทรัพยากร Soft Power. เอเชียปริทัศน์, 44(2), 99-132.

ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์. (2552). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว: อะไร ทำไม และอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2567 จาก https://pairach.com/2011/07/14/why_tourism_logistics

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2566). สถิติด้านการท่องเที่ยวปี 2564-2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2566). ภาพอนาคตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในระยะ 10 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2566-2575. กรุงเทพฯ: อาคารไปรษณีย์กลาง.

สุปรียา ภูผาลาและจารุวรรณ แดงบุบผา (2565) การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8(1), 286-304.

อดิศัย วรรธนะภูติ, จันทนา แสนสุข, จันทิมา บุญอนันต์วงศ์, และอัจฉราพ โชตน์วรกาญจน์. ศึกษาการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ และความภักดีของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 18(2), 15-29.

อรกิติ์ แววคล้ายหงษ์ (2565). การจัดการการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์การท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต คณะการจัดการการท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรรณพ ดวงมณี และต่อตระกูล อุบลวัตร. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ และทัศนคติที่มีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. นิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 150-162.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th edition. New York: Harper & Row.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale, reading in attitude theory and measurement. New Jersey: Wiley & Son.

Roscoe, J.T. (1975). Fundamental research statistics for the behavioral sciences. 2nd edition. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Rovinelli, R.J. & Hambleton, R.K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Retrieved 30 July 2024, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED121845.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

โภคาวัฒนา อ., & สีพุธสุข ด. (2024). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอาหารทะเลในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพิพัฒนสังคม, 1(3), 62–74. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1260