ความสัมพันธ์ระหว่างการมีเพื่อนดื่มกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กันยปริณ ทองสามสี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อิสระ ทองสามสี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์อภิมาน, พฤติกรรมการบริโภค, การมีเพื่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์อภิมานหาค่าดัชนีมาตรฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างการมีเพื่อนดื่มกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2556-2565 และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าดัชนีมาตรฐานของการมีเพื่อนดื่มกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยตามตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย

วิธีการศึกษา: วิเคราะห์อภิมานตามวิธีการของ Rosenthal & Hedges ประชากรคือ ผลงานวิจัยจำนวน 19 เรื่อง ที่ได้ตามขั้นตอน PRISMA 2020 เจาะจงงานวิจัยที่มีค่าสถิติเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์อภิมาน และผ่านการประเมินคุณภาพงานวิจัย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัยที่ผ่านการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Jamovi, MAJOR-Meta-Analysis for JAMOVI และโปรแกรม R

ข้อค้นพบ: งานวิจัยส่วนใหญ่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2561-565 ผลการวิเคราะห์อภิมานมีความแตกต่างของผลจากรายงานวิจัย และไม่มีอคติจากการตีพิมพ์ ค่าดัชนีมาตรฐานพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการมีเพื่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (r = .40, p < .001) และไม่พบความแตกต่างของค่าดัชนีมาตรฐานความสัมพันธ์ตามตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย

การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: ผลการวิจัยที่บ่งชี้ว่ายิ่งมีเพื่อนดื่มมากขึ้นพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากต้องการให้ประชาชนคนไทยลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามแผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 สามารถดำเนินการได้ด้วยการลดหรือยกเลิกการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานสังสรรค์ และส่งเสริมการทำกิจกรรมที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง

References

ชิษยรัสย์ ศิริไปล์. (2565). การวิเคราะห์ตัวบทภาพตัวแทนสัญญะความเป็นชายบนสื่อโฆษณาออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร, 5(1), 220-237.

ณกร ลูกสยาม, นันทิยา วัฒายุ และดวงใจ รัตนธัญญ. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในนักเรียนวัยรุ่นในเขตเทศบาล จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(4), 22-31.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี. (2565). วิถีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิง. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 29-41.

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ และคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 275-287.

แพรวพรรณ พรมยศ. (2564). ความสัมพันธ์ของความมั่นใจตนเองในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2563. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 18(2), 81-87.

วราภรณ์ วีระพันธ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 166-178.

วราวุฒิ มหามิตร และอิสระพงศ์ ถนัดค้า. (2563). การรับรู้ ความตระหนักเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2(1), 1-10.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2565). แผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570). สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2567 จาก https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2565/P_406951_1.pdf

สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี, โสภิดา ดาวสดใส, ขวัญสุดา บุญทศ และศริญญา ชาญสุข. (2566). ผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นตามการรับรู้ของเหยื่อ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 31(1), 51-61.

สุวิมล สงกลาง และสุณีรัตน์ ยั่งยืน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้, 7(1), 32-44.

อมร ตงศิริ, วุธิพงศ์ ภักดีกุล และวรินท์มาศ เกษทองมา. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 560-571.

Ali, T., & Worku, T. (2020). Current alcohol consumption and associated factors among school adolescents and youths in Ethiopia: A systematic review and meta-analysis. SAGE Open Medicine, 8.

Cooper, H., Hedges, L.V., & Valentine, J. C. (2019). The handbook of research synthesis and meta-analysis (3rd edition). New York: Russell Sage Foundation.

Flay, B.R., & Petraitis, J. (1994). The theory of triadic influence: a new theory of health behavior with implications for preventive interventions. Advances in Medical Sociology, 4, 19-44.

Ivaniushina, V., & Titkova, V. (2021). Peer influence in adolescent drinking behavior: A meta-analysis of stochastic actor-based modeling studies. Retrieved 20 June 2024, from https://journals.plos.org/plosone/articleid=10.1371/journal.pone.0250169

Jokinen, T., Alexander, E.C., Manikam, L., Huq, T., Patil, P., Benjumea, D., Das, I., & Davidson, L.L. (2021). A systematic review of household and family alcohol use and adolescent behavioural outcomes in low- and middle-income countries. Child Psychiatry & Human Development, 52(4), 554-570.

Karaye, I.M., Maleki, N., Hassan, N., & Yunusa, I. (2023). Trends in Alcohol-Related Deaths by Sex in the US, 1999-2020. Retrieved 20 June 2024, from https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2807706

Matthay, E.C., Hagan, E., Gottlieb, L.M., Tan, M.L., Vlahov, D., Adler, N., & Glymour, M.M. (2021). Powering population health research: Considerations for plausible and actionable effect sizes. SSM - Population Health, 14, 1-9.

Page, M.J. et al. (2021). The PRISMA 2020 statement: an updated guideline for reporting systematic reviews. BMJ, 372(71), 1-9.

R Core Team. (2021). R: A language and environment for statistical computing (Version 4.0) [Computer software]. Retrieved 20 May 2024, from https://cran.r-project.org

Schaefer, D.R., Van Woerden, I., Hruschka, D., & Bruening, M. (2021). Finding and Keeping Friends in College and Their Influence on Alcohol Use: A Network Analysis. Journal of Studies on Alcohol and Drugs, 82(1), 121–131.

The Jamovi Project. (2024). Jamovi (Version 2.5) [Computer Software]. Retrieved 20 June 2024, from https://www.jamovi.org

Tongsamsi, K., & Tongsamsi, I. (2018). Domestic violence resulting from alcohol use: An analysis of reports from Thai daily newspapers during 2006-2015. Nida Development Journal, 58(2), 148-167.

Wilson, D.B. (2017). Formulas used by the “practical meta-analysis effect size calculator”. George Mason University. Retrieved 18 June 2024, from https://www.campbellcollaboration.org/escalc/equations.php

Wilson, D.B. (2023). Practical meta-analysis effect size calculator (Version 2023.11.27). Retrieved 18 June 2024, from https://www.campbellcollaboration.org/escalc

Wilson, M.N., Langille, D.B., Ogilvie, R., & Asbridge, M. (2018). When parents supply alcohol to their children: Exploring associations with drinking frequency, alcohol-related harms, and the role of parental monitoring. Drug and Alcohol Dependence, 183, 141-149.

Zhao, X. et al. (2020). Intention to drink and alcohol use before 18 years among Australian adolescents: An extended Theory of Planned Behavior. Addictive Behaviors, 111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-13

How to Cite

ทองสามสี ก., & ทองสามสี อ. (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีเพื่อนดื่มกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยในประเทศไทย . วารสารพิพัฒนสังคม, 2(1), 29–40. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1218