ตาพรานบุญ: ความเชื่อ พิธีกรรม และการสืบทอด กรณีศึกษา คณะมโนราห์ธีระศักดิ์ บัณฑิตศิลป์ ศ.เสียน ตรัง ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ขวัญจิรา สุนทรนนท์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ศิริพร สุโสะ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เชษฐา มุหะหมัด อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ตาพรานบุญ, ความเชื่อ, พิธีกรรม, การสืบทอด, แก้บนหรือแก้เหมรฺย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของตาพรานบุญ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของตาพรานบุญ และ 3) เพื่อศึกษาการสืบทอดความเชื่อและพิธีกรรมของตาพรานบุญ กรณีศึกษาคณะมโนราห์ธีระศักดิ์ บัณฑิตศิลป์ ศ.เสียน ตรัง ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน เริ่มด้วยการจัดระบบข้อมูล แยกประเภทข้อมูลตามประเด็นกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย และทำความเข้าใจกับข้อมูลที่รวบรวมมา หลังจากที่เก็บข้อมูลผู้วิจัยจะบันทึกอย่างละเอียดแล้วจึงเขียนวิจัยฉบับสมบูรณ์แบบพรรณนา

ข้อค้นพบ: ตาพรานบุญเป็นบรรพบุรุษเชื้อสายมโนราห์ซึ่งล่วงลับไปแล้ว มีข้อสันนิษฐานและความเชื่อว่า ความเป็นมาของตาพรานบุญมีต้นกำเนิดจากวัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และไม่ทราบถึงผู้สืบทอดตาพรานบุญคนแรกมีเพียงความเชื่อและพิธีกรรมของตาพรานบุญที่ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องกันมา ความเชื่อต่อตาพรานบุญเป็นความเชื่อถูกสืบทอด ซึ่งเกิดมาจากความรัก ความศรัทธา และความเคารพต่อพรานบุญ การสืบทอดความเชื่อและพิธีกรรมสามารถสืบทอดได้ในฐานะลูกหลานและในฐานะลูกศิษย์

การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: เกิดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมความเชื่อ ความศรัทธา พิธีกรรม และการสืบทอดเกี่ยวกับตาพรานบุญ อีกทั้งทำให้ชุมชนตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีผู้คนสนใจที่ต้องการจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับตาพรานบุญทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมของตาพรานบุญยังคงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

References

ธวัช ปุณโณทก. (2528). วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาโกวิท โกวิโท (จิตประสงค์), พระครูวิจิตรศีลาจาร, สิทธิโชค ปาณะศรี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และสวัสดิ์อโณทัย. (2562). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในการแสดงโนราโรงครู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 323-341.

ภูมิ จิระเดชวงศ์. (2564). หิ้งครูหมอโนราและความสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.facebook.com/norahistory/posts/158456405962095

มานะชาติ คล่องดี. (2552). การศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่าย ความเข้มแข็งทางสังคม ด้วยพิธีกรรมเหยาของชาวผู้ไท จังหวัดมุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เยี่ยมยง สุรกิจบรรหาร. (2523). ความเป็นมาของโนรา ในพุ่มเทวา : ที่ระลึกงานเชิดชูเกียรติศิลปินภาคใต้ : ขุนอุปถัมภ์นรากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ. (2554). การศึกษาการสืบทอดความเป็นจีนผ่านการทำความเข้าใจในความหมายและสัญลักษณ์ทางศาสนาของชาวจีนสู่ลูกหลานในสังคมไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วงษ์สิริ เรืองศรี. (2564). “พรานบุญ” ครูหมอมโนราห์ศาสตร์และศิลป์แห่งมนตราใต้. วารสารสังศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(1), 1-14.

ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา. (2563). ครูหมอโนราอภินิหารของการรักษาโรค. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566 จาก http://krunora.blogspot.com/2013/05/blog-post_3.html

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การสืบทอดและอนุรักษ์พิธีกรรมโนราโรงครูคณะเทพชัย โสภณศิลป์ และคณะจำเริญ ศ.พนมศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

แหล่งเรียนรู้เรื่องราวมโนราห์. (2563). ทวดทะเลพระ ครูโนราห์พ่อแก่เกลือน ลูกหลานเขาชัยสน. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.beautynailhairsalons.com/TH/Amphoe-Khao-Chaison/594450264050451

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-13

How to Cite

สุนทรนนท์ ข., สุโสะ ศ., มุหะหมัด เ., อ่อนจันทร์ พ., & เงินถาวร ส. ช. (2025). ตาพรานบุญ: ความเชื่อ พิธีกรรม และการสืบทอด กรณีศึกษา คณะมโนราห์ธีระศักดิ์ บัณฑิตศิลป์ ศ.เสียน ตรัง ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง. วารสารพิพัฒนสังคม, 2(1), 15–28. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1188