แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านโคกสักออก หมู่ที่ 4 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
แนวทาง, การเสริมสร้างสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการดำเนินงานชุมชน และนำเสนอแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านโคกสักออก หมู่ที่ 4 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา จากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 ราย ได้แก่ คณะกรรมการชมชนผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านโคกม่วง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ข้อค้นพบ: สถานการณ์ปัญหาการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านโคกสักออก หมู่ที่ 4 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง และติดสังคม ซึ่งประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน เป็นส่วนใหญ่ จากบริบทของชุมชนที่มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบททำให้มีผลกระทบต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากสมาชิกที่ดูแลผู้สูงอายุต้องเดินทางออกนอกชุมชนเพื่อไปประกอบอาชีพ และพบว่าหน่วยงานยังขาดแผนการดำเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการโดยชุมชนได้มีการนำเสนอแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 ป. ได้แก่ ป. 1 คือ ปรับพฤติกรรม ป. 2 ปรับสภาพแวดล้อมทางสังคม และ ป. 3 ปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: สามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาหรือสร้างแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านโคกสักออก และมีข้อมูลที่สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างเครื่องมือต่อยอดการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จะนำไปสู่การสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับบุคลากรของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ภายใต้การมีส่วนร่วมและการขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (ม.ป.ป.). คู่มือระบบดูแลและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กัญญา ภัทรมงคลเขตต์. (2567). สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน บ้านโคกสักออก หมู่ที่ 4 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา (รายงานโครงการ). กรุงเทพฯ: สำนักสร้างสรรค์โอกาส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
กีรติญา ไทยอู่. (2558). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคจิตเวช (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
จุฬาลักษณ์ ไพบูลย์ฟุ้งเฟื่อง. (2563). แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรม).นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชฎาพร คงเพ็ชร์, อารีย์ ยมกกุล และเรณู อาจสาล. (2564). การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี. วารสารพยาบาล, 70(4), 44-51.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
นฤมล ลีลายุวัฒน์. (2553). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (Physiology of exercise). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์ และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2562). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 262-269.
พรมณี พุ่มอิ่ม. (2547). การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรี นาคนุ่น, จักรพงษ์ เปี่ยมเมตตา และธณภณ ศรัญบูรณะ (2567). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 18(56), 234-248.
ภัทรสิริ พจมานพงศ (2562). แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพโดยแบ่งตามลักษณะองค์ประกอบด้านร่างกายของผู้สูงอายุ สมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 73-87.
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2561). ประเด็นท้าทายและทางแก้สำหรับการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
เวหา เกษมสุข, เสาวรส มีกุศล, สุรัสวดี ไวว่อง และนงนุช เพ็ชรร่วง. (2564). แนวทางการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมผ่านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพยาบาลตำรวจ, 13(1), 13-23.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Moser, A., & Korstjens, I. (2017). Practical guidance to qualitative research. European Journal of General Practice, 23(1), 271-273.
Power, B., & Hubbard, R. (1999). Becoming teacher researchers one moment at a time. Language Arts, 77(1), 34-39.
Pender, N.J. (2002). Health promotion in nursing practice (4th edition). New Jersey: Prentice-Hall.
Pender, N.J., Murdaugh. C.L., & Parsons, M.A. (2011). Health Promotion in Nursing Practice. (4th edition). USA: Appleton & Lange.
Tashakkori, A., & Teddlie, C. (1998). Mixed Methology. Combining qualitaire and quantitative approaches. London: SAGE.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารพิพัฒนสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.