การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) กรณีศึกษาผู้หญิงที่มี อายุ 18-25 ปี

Main Article Content

นลพรรณ วงศ์ทวีทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชัน
ติ๊กต็อก (TikTok) ที่จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ที่จำแนกตามปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภค และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงอายุ 18-25 ปี ที่มีประสบการณ์ในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (Tiktok) จำนวน 400 คน ได้มาจากเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) กรณีศึกษาผู้หญิงที่มี อายุ 18-25 ปี อยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา กระบวนการ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกนั้นไม่แตกต่าง

Article Details

How to Cite
วงศ์ทวีทรัพย์ น. (2025). การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) กรณีศึกษาผู้หญิงที่มี อายุ 18-25 ปี. วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ, 2(1), On process. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/1253
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐดนัย เกณทวี และสุรีรัตน์ อินทร์หม้อ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางบัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์ของผู้บริโภคในปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(2), 240–252.

ไทยโพสต์. (2567). พาณิชย์เผย เปิดสถิติคนไทยช้อปออนไลน์เพิ่มต่อเนื่อง ชี้เศรษฐกิจดิจิทัลมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท. เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/economy-news/543501/

ประชาชาติธุรกิจ. (2566). TikTok เผยคน 70% ซื้อของทันที หลังรับชมคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม. เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/ict/news-1341953

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Consumer Buying Process). เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.popticles.com/marketing/consumer-buying-process

รัตนาภรณ์ ธนาคุณ. (2564). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อซื้อสินค้าผ่านแอปทลิเคชั่น TikTok ของผู้บริโภคในประเทศไทย.” การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ลงทุนศาสตร์. (2563). สรุปข้อมูลบริษัท TikTok : แอปที่เติบโตมหาศาลช่วงวิกฤต. เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.investerest.co/business/the-story-of-tiktok/

วรินธร ใจกล้า. (2566). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Application TikTok ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์, ญาลดา พรประเสริฐ, & สุชาติ ฉันสำราญ. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(2), 175–188.

สรัลชนา ลิ้มพรชัยเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีจากร้านค้าบนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2567). พาณิชย์จัดทำดัชนีใหม่ ความพึงพอใจการซื้อสินค้าออนไลน์ เผยดัชนีอยู่ในระดับพึงพอใจมาก. เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://tpso.go.th.

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ประกายพรึก

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภันตรี อักษรประจักษ์, สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์, & ประภัสสร วิเศษประภา. (2562). การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. 1–15

Content Shifu. (2563). ถอดรหัส 5 จิตวิทยาการออกแบบแอป TikTok ที่ทำให้ผู้ใช้เล่นจนติดงอมแงม. เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://contentshifu.com/blog/why-tiktok-is-so-addictive.

Insight Era. (2024). สรุปสถิติผู้ใช้งาน Social media ผ่าน platform ยอดนิยมในไทย. Accessed 2024, November 4. Available from https://www.insightera.co.th/social-madia-statshot-2023.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation, and control (9th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall.

Kotler, P. (1999). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control (9th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall.

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall.

Shaun. (2024). TikTok Statistics, usage Trends & Revenue 2024. Accessed 2024, November 4. Available from https://www.theb2bhouse.com/tiktok-statistics.

Thansettakij. (2017). เผยไทยนำเข้าเสื้อผ้าพุ่ง ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าผู้หญิง. Accessed 2024, November 5. Available from https://www.tcijthai.com/news/2017/14/current/6748.