การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบและการเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากเงินรายได้ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำสำคัญ:
แนวคิดแบบลีน, การตรวจสอบและเบิกจ่าย, ทุนอุดหนุนการทำวิจัย , คณะวิทยาการจัดการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นในงานตรวจสอบและการเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากเงินรายได้ของคณะวิทยาการจัดการ และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบและการเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากเงินรายได้ของคณะวิทยาการจัดการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลแล้วนำมาเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับทุนอุดหนุนการทำวิจัย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แยกเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้ความเข้าใจในเอกสารและเกณฑ์การเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยของคณะและเจ้าหน้าที่มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและการเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากเงินรายได้ของคณะ อำนวยความสะดวกด้วยความละเอียด แม่นยำและมีประสิทธิภาพ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเขียนเอกสารและหลักฐานการแนบเบิกจ่ายผิดพลาด ไม่ครบถ้วน การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบและการเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยฯ จากการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน พบว่า ก่อนการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน มีระยะเวลาตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน จำนวน 158 นาที รวมหลักฐานและเอกสารประกอบการเบิกจ่ายก่อนการปรับปรุง จำนวน 38 แผ่น มีระยะเวลาตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินหลังการปรับปรุง (ต่อ 1 เรื่อง : คน) ลดลงเหลือ 66 นาที และรวมหลักฐานและเอกสารประกอบการเบิกจ่ายหลังการปรับปรุง (ต่อ 1 เรื่อง : คน) จำนวน 9 แผ่น แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบที่ดีขึ้น และการเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากเงินรายได้ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
References
กรณิภา คงยืน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการแบบลีนกับประสิทธิผลของการนัดหมายผู้ใช้บริการของแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูศูนย์การแพทย์
กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
กลุ่มงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี. (2566). บุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ชลากร อยู่คเชนทร์. (2564). กระบวนการการตรวจเอกสาร การเบิกจ่ายเงินทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณทุนสถาบันวิจัยและพัฒนา. สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ธนิตา ฉิมวงษ์, จิราพรนิลสุ และนภาพร วาณิชย์กุล. (2556). การประยุกต์ใช้หลักการของลีนเพื่อพัฒนา คุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน
โรงพยาบาลระยอง .วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 121-135
เพ็ญวิสาข์ เอกกะยอ. (2555). การใช้หลักการลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บเอกสารและออกเลขหนังสือด้วยซอฟต์แวร์ เสรีกรณีศึกษา สำนักงานโรง
พยาบาลสงขลานครินทร์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณทิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรธิดา รัตนโค้น. (2559). การประยุกต์ใช้แนวความคิดแบบลีนมาปรับปรุงกระบวนการทำงานของ แผนกบัญชี กรณีศึกษา บริษัทเอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด
จังหวัดชลบุรี. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สำหรับผู้บริหาร, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
บรรจรัตน์ อินทนูและสถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา. (2563). การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการเบิกจ่ายทุนการศึกษาสถานศึกษา ABC. การประชุมนำเสนอผล
งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2563 ภายใต้แนวคิดหลัก “Digital Economy 2020” (น: 1231-1240). บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยรังสิต.
ประเสริฐ อัครประถมพงศ์. (2552) การลดความสูญเปล่า ด้วยหลักการ ECRS. สืบค้นจาก: https://cpico.wordpress.com.
ภัทรนิษฐ์ บุญวัง. 2556. การประยุกต์แนวคิดแบบลีนเพื่อลดความสูญเปล่าในการผลิต กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต),
มหาวิทยาลัยบูรพา.
สโรชา ซิ้มเทียม. (2563). การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ กรณีศึกษา ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิยาโน วัฒนพรพรหม. (2556). การประยุกต์ใช้แนวคิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการรับสินค้าบริษัท ABC จำกัด สาขาสุพรรณบุรี. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหา
บัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สุทธิพงษ์ สุวรรณสาธิต. (2558). ปัจจัยการปฏิบัติตามแนวคิดลีน. (ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต) วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลรัตนโกสินทร์.
อติกานต์ ม่วงเงิน. (2562). การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบลีน (ECRS+IT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานระบบตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ. กรุงเทพฯ :
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.