การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ของตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • Natcha Chaeyraksa Student, Bachelor of Political Science, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Sawan Rajabhat University

คำสำคัญ:

การศึกษาความเป็นไปได้, ศูนย์บริการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า, รถยนต์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในตำบลตะเคียนเลื่อนอยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและในทุกด้าน  โดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านนันทนาการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล/สาธารณสุข ด้านรายได้ ด้านความมั่นคงทางสังคมและครอบครัว และด้านที่อยู่อาศัย สรุปได้ว่าการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ในพื้นที่ศึกษามีความครอบคลุมและเพียงพอในระดับมาก ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการจัดการสวัสดิการ  เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลตะเคียนเลื่อน

 

References

ขวัญ สงวนเสริมศรี. 2552. แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพะเยา. ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ซูรัยณี ดือราแม (2564). รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี.ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ : บริษัท ทีคิวพี จำกัด.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2548). ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และวรรณลักษณ์ เมียนเกิด. (2551). การเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อบปี้.

สมประวิณ มันประเสริฐ. (2553) การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่มีต่อแบบแผนการบริโภคของครัวเรือนไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2567). แผนยุทธศาสตร์สาธารณะสุขจังหวัดนครสวรรค์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ฉบับปรับปรุง เมษายน 2567. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดนครสวรรค์.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.dop.go.th/th/know/5/page=1

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 (2555). การจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในระดับตำบลแบบมีส่วนร่วม. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เสมอ จัดพล (2556). การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 510-519.

องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนเลื่อน. (2567) ).ข้อมูลทั่วไปขององค์การริหารส่วนตำบลเขาชนกัน.สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.takhianluan.go.th/home.

Krejcie, R.V.,& D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27