คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • เกษมณี เอี่ยมหน่อ -

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ, สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการ ศึกษาระดับความพึงพอใจ และศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์ ประชากร ได้แก่ ประชาชนผู้มาติดต่อ   ขอใช้บริการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถาม มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหา อยู่ที่ 0.66 - 1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ

           ผลการศึกษา พบว่า 

  1. ระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.53, S.D. = 0.471) อันดับแรกคือ คุณภาพบริการด้านความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.74, S.D. = 0.530) รองลงมาคือ คุณภาพบริการด้านสิ่งจับต้องได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.52, S.D. = 0.598) ถัดมาคือ คุณภาพบริการด้านความมั่นใจ อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.49, S.D. = 0.546) คุณภาพบริการด้านความเห็นอกเห็นใจ อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.48, S.D. = 0.482)  และคุณภาพบริการด้านการตอบสนอง อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.44, S.D. = 0.500) อยู่ในลำดับสุดท้าย
  2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.37, S.D. = 0.451) อันดับแรกคือ ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.58, S.D. = 0.587) รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ อยู่ในในระดับมาก (X̅ = 4.41, S.D. = 0.493) ถัดมาคือ ความพึงพอใจด้านขั้นตอนการให้บริการ อยู่ในในระดับมาก (X̅ = 4.39, S.D. = 0.495) และลำดับสุดท้ายคือ ความพึงพอใจด้านช่องทางการให้บริการ อยู่ในในระดับมาก (X̅ = 4.11, S.D. = 0.481)
  3. คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า คุณภาพการบริการ ด้านสิ่งที่จับต้องได้ ด้านการตอบสนอง ด้านความเห็นอกเห็นใจ ด้านความมั่นใจ และด้านความน่าเชื่อถือ ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์ โดยสามารถพยากรณ์ความพึงใจของผู้รับบริการได้ร้อยละ 83.5 (R2 = 0.835) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

           ความพึงพอใจของผู้รับบริการ  = .358 (ด้านสิ่งที่จับต้องได้) + .175 (ด้านการตอบสนอง) +.101 (ด้านความเห็นอกเห็นใจ) + .038 (ด้านความมั่นใจ) + .347 (ด้านความน่าเชื่อถือ)

 

References

กฤตนพรรณ ดีนิสัย. (2560). ความพีงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดนครนายก. วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน. 1(1), 55-76.

เกวรินทร์ เมืองมูล. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดพะเยา. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดเชียงราย สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/ viewIndex/ 83.ru.

ณภัส ทองมีขวัญ. (2018). ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.

นคภร ธนัตพรกุล. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของธนาคารออมสิน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นุกูล ชิ้นฟัก, วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว, เพ็ญสุข เกตุมณี, & ฐิติพงศ์ เกตุอมร. (2023). การให้ บริการงานบริการสาธารณะจากทัศนะผู้รับบริการของเทศบาลเมืองคอหงส์ ในจังหวัดสงขลา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(6), 296-308.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องตน. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น

ภัทรกร เขียวสี, สืบชาติ อันทะไชย, และวณิชย์ ไชยแสง. (2566). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานอัยการจังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 4(2), 1-12.

เยาวธิดา สุริจักหงส์, และรัชดา ภักดียิ่ง. (2565). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการ ของเทศบาลตำบลแก่นฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(11): 1-16.

ศิริญา เมืองโคตร. (2565). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อถือไว้วางใจสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดมุกดาหาร: อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อถือไว้วางใจสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(2): 74-89.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม, มหาวิทยาลัยสโขทัยธรรมาธิราช. (ม.ป.ป.). รายงานผลการวิจัย ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของ เทศบาลตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบรี. นนทบุรี: ผู้แต่ง

สุพินธ์ วงษ์คำ, & ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์. (2565). คุณภาพบริการของสำนักงานอัยการ จังหวัดแม่สะเรียงตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ. วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร, 1(1), 1-22

สุวิมล ติรกานนท์. (2548). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2564). Info OAG รู้จักสำนักงานอัยการสูงสุด Office of the Attorney General. กรุงเทพมหานคร: Idealready.

อรุณ ไชยนิตย์ และคณะ. (2565). รายงานผลการวิจัยความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการใช้ บริการของเทศบาลเมืองโคราชอำเภอบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Aday, L. A. & Andersen, R. (1978). Theoretical and methodology issue in Sociology study of satisfaction with medical care. Social Science and Medicine. (12), 28.

Kotler, P. (2000). Marketing Management: Millenium Edition. New Jersey: Prentice Hall.

Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty?. Journal of marketing, 63(4_suppl1), 33-44.

Parasuraman, A. B. L. L., Zeithaml, V. A., & Berry, L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. 1988, 64(1): 12-40.

Ramseook-Munhurrun, P., Lukea-Bhiwajee, S. D., & Naidoo, P. (2010). Service quality in the public service. International journal of management and marketing research, 3(1), 37-50.

Rust, R.T. and Oliver, R.L. (1994) Service Quality: Insights and Managerial Implications from the Frontier. In: Rust, R.T. and Oliver, R.L., Eds., Service Quality: New Directions in Theory and Practice, Sage Publications, Thousand Oaks, 1-19.

Tse, D. K., & Wilton, P. C. (1988): “Models of Consumer Satisfaction: An Extension”, Journal of. Marketing Research, 25 (May): 204-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26