ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนัญชัย ทุ่นใจ คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลครั้งนี้ จำนวน 96 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 94.11 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเครือข่ายการศึกษานากลาง 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน ด้านการจัดการด้านการเรียนการสอน ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ตามลำดับ แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสื่อสารให้บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ควรชี้ให้เห็นถึงจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาในการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคณะครูด้วยกันเพื่อช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านวิชาการ และควรเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แก่ครูอยู่เสมอ

References

กมลทิพย์ บุญโพธิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์กรบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชัยภูมิ : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ณัฐกรณ์ จิตต์ผล. (2565). ภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี.

ทัศนา วรรณประภา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ปรียาภรณ์ เรืองเจริญ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

พิมลวรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

พัชราภรณ์ จันทพล. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

วารุณี อินทรสร้อย. (2565). ภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. ข้อมูลสารสนเทศทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566 จาก https://www.nb2.go.th

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี

เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Anderson, C.A.D. (2000). The importance of instructional leadership behavior. As perceived

by middle school teachers, middle school principals, and educational leadership Professors. Ed. D. Dissertation, Faculty of Graduate School, University of Georgia.

Cavazos, J. M. (1999). The instructional leadership of high school principals in successful hispania majority high school. Ph.D. Dissertation. Factory of Graduate school. The University of Texas at Austin.

Hallinger, J.S., & Murphy, S. L. (1985). Work stress and social support. Reading Massachusetts: Addison-Wesley.

Lunenberg, C., and Ornstein, C.A. (2004). Educational adminstration: Concepts and practices. (4th ed.). New York: Wadsworth.

Yamada, A. T. (2000). Elementary school principals’ percentage of responsibilities and competencies for instructional leadership. Ed. D Dissertation. Faculty of the Graduate school, University of the Pacific.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30