พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา กุลรักษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การใช้โทรศัพท์มือถือ, นักเรียน

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา 2. ศึกษาสาเหตุพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียน 3. หาแนวทางการจัดการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 112 คน เลือกแบบเจาะจง วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้สัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน      ผลการวิจัยพบว่า  1) พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา พบว่า นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือหลายลักษณะทั้งการเรียนสืบค้นข้อมูลความบันเทิงนักเรียนติดเกมติดโซเชียล ใช้โทรศัพท์ตลอดเวลา หรือนอกห้องเรียนใช้โทรศัพท์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต 2) สาเหตุพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ด้านที่มีค่ามากเป็นอันดับ 1 ความคิดเห็นรู้สึกไม่สบายใจถ้าบังเอิญลืมโทรศัพท์มือถือไว้ 3) แนวทางการจัดการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การทำกิจกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือโดยการสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาที่สอนการให้ผู้เรียนได้ใช้โทรศัพท์ เป็นการอนุญาตให้ใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลการจัดกิจกรรมกลุ่มการเรียนการสอน เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แล้วทดสอบความรู้ความเข้าใจในการใช้โทรศัพท์ พบว่าคะแนนหลังเรียนมีค่ามากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

โกสุมวิทยาสรรค์ และพัชรียา ฮาตระวัง. (2564). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จังหวัดขอนแก่น. วิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์.

ไกรวิน วงศ์บุญชา ธัญญานนท์ ธิราวัฒน์ และพิมพ์ศิริ พิพัฒน์พงศ์. (2556). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดพะเยา. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/nFf4x.

จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย และคณะ. (2566). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(3), 1.

ดำรัส อ่อนเฉวียง. (2560). การใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะเพื่อการเรียนการสอน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(1), 31.

นิศรุตร ทำไร่. (2563). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ. (ม.ป.ท.).

เบญจภรณ์ ขวัญสมคิด และปวรวรรณ พันแจ่ม. (2555). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ Smartphone และการใช้เวลาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ. จุลนิพนธ์ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด. (2559). ผลกระทบของการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนในโลกเสมือนต่อการมีปฏิสัมพันธ์ในการใช้ชีวิตจริงในสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 23.

พิชชาดา ประสิทธิโชค, ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์ และสราวุฒิ ตรีศรี. (2564). พฤติกรรมการเสพติดสมาร์ตโฟนและรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ พฤติกรรมการเสพติดสมาร์ตโฟนของเยาวชน เจเนอเรชั่น Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิชยา วัฒนะนุกูล, วาสนา ผิวขม และเปรมจันทร์ สว่าง. (2560). พฤติกรรมและปัจจัยการใช้สมาร์ตโฟนในกลุ่มวัยรุ่น. (ม.ป.ท.).

ไพศาล เอกวัฒน์. (2563). การศึกษาปัญหาและความต้องการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัชรียา ฮาตระวัง. (2564). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้น มกราคม 15, 2567 จาก https://shorturl.asia/9nAqz.

วันวิสา สุนทรชัชเวช. (2563). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชน. สังกัดอัครสังฆมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศักดิกร สุวรรณเจริญ สุพัตรา ธรรมาอินทร์ สุวัฒนา เกิดม่วง อังค์ริสา พินิจจันทร์ และพรเลิศ ชุมชัย. (2563). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดนนทบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(36), 74.

สิริกานต์ แก่นเพชร. (2559). การเสพสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับชั้นอุดมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สิริพร พิริยวรกุล. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาบัญชี จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ.

สุกัญญา งาต้น. (2563). ทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้ โทรศัพท์มือถือของนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคลำพูน จังหวัดลำพูน. (ม.ป.ท.).

สุกัญญา สร้อยจิต. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ในระหว่างเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1/5. สืบค้น มกราคม 2, 2567 จาก https://shorturl.asia/5QhxD.

สุรัตนา เหล่าไชย ปภาวี รัตนธรรม และอดิศักดิ์ พละสาร. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชนจังหวัดมหาสารคาม. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

กุลรักษา อ. (2024). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(2), 441–452. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/637