การบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มุ่งนำเสนอและทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในแง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ ความหมาย ความเป็นมาของการบริหาร แนวคิด ลักษณะ การวัดผลประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่ได้
จากการบริหาร โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ แล้วนำมาปรับใช้เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความสำเร็จในการบริหารขององค์กรนั้น ๆ โดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า ในแง่มุมของด้านปัจจัยนำเข้า คือ นโนบาย บุคลากรงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ ด้านกระบวนการ คือ การวางแผนดำเนินงาน การบริหารจัดการ การมุ่งผลสัมฤทธิ์และการติดตามประเมินผล ด้านผลผลิต คือ การประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานด้านข้อมูลย้อนกลับและด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาปรับใช้ประยุกต์ในการบริหารองค์กรให้เป็นระบบของการจัดการ
References
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2547). การบริหารผลการดำเนินงาน (Performance Management). รวมบทความวิชาการ 100 ปี รัฐประสาสนศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประสาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ.
พิทักษ์ อุดมทรัพย์. (2561). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วราภรณ์ สกุลวิวรรธน์. (2558). ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์เป็นส่วนหนุ่งของการศึกษา (ศษ.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ศิลปากร
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. สืบค้น 26 มกราคม 2567. สืบค้นจาก http://isc.ru.ac.th/data/ED0003477.doc.