การพลิกโฉมภาครัฐโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ;, การบริหารจัดการ;, การบริหารราชการแนวใหม่;, การบริหารจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางบทคัดย่อ
การพลิกโฉมระบบราชการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวคิดการบริหารจัดการที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยให้ความสำคัญกับสิทธิและประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นผู้ปกครองสูงสุด การบริหารราชการจึงต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งศึกษาถึงแนวทางการนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารราชการแนวใหม่ โดยงานวิชาการส่วนใหญ่พบว่า การนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้นั้นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการของรัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว งานวิชาการยังพบว่า การนำแนวคิดการบริหารจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางไปประยุกต์ใช้นั้น ก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการต่อประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ งานวิชาการก็พบว่า การนำแนวคิดการบริหารจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางไปประยุกต์ใช้นั้นยังพบอุปสรรคหลายประการ จากการศึกษางานวิชาการการบริหารจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พบว่า แนวคิดนี้มีประโยชน์ต่อการบริหารราชการไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยสามารถช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้นั้นจำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ ซึ่งจำเป็นต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
References
กัมพล เพ็ชรล้อมทอง, สันติ ปัญญา, สุรภา เอมสกุล และโชติ บดีรัฐ. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิชา ชัยศิริรัตน์. (2560). พลวัตการปฏิรูประบบราชการ: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและวาทกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิดา ลักษณ์ กระจาย. (2565). การให้บริการประชาชนตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย, 1(1), 1–13.
พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม, & พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2565). รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 587–599.
พระมหาคำพันธ์ ปภากโร, พระครูจินดา สารานุกูล, & ประยงค์ ศรไชย. (2565). การบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับการบริหาร ราชการแบบมีส่วนร่วม. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 1243–1252.
ปาตุ้ย, & เจษฎา. (2564). ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการบริหารจัดการข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา. วารสารรัฐศาสตร์, 39(2), 45–68.
Phookpan, P. (2019). ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนศิลาแลงและป่าชุมชนสะเอียบ. Journal of Multidisciplinary Academic Research and Development (JMARD), 1(3), 43–62.
Ritthitham, W., Sitthi, P., & Chanpo, P. (2021). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนคร. สกลนคร. Journal of MCU Nakhondhat, 8(5), 27–41.
เชี่ยวเชิงงาน, & พรธีรา. (2562). บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา, 6(2), 99–113.
สมคิดพุ่ม ทุเรียน และประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองไทยในยุคดิจิทัล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2298–2312.
ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2549). การบริหารราชการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.