กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ: โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ผู้แต่ง

  • พินิจ บำรุง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, 30 บาทรักษาทุกโรค

บทคัดย่อ

       โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2544 จากปัญหาความยากจนของประชากรไทยและระบบหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริงซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรับบริการสาธารณะสุข อีกทั้งยังไม่สามารถบรรลุตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52 และมาตรา 82 การเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว รัฐบาลในยุคที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากนโยบายหาเสียง 30 บาทรักษาทุกโรค จนกระทั่งประสบความสำเร็จและครอบคลุมสิทธิการรักษาพยาบาลในระยะเวลาเพียง 1 ปี อย่างไรก็ตามก่อนที่นโยบายดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาล ประกอบด้วย 1) การระบุปัญหา 2) การจัดทำข้อเสนอนโยบาย 3) การประกาศเป็นนโยบาย 4) การดำเนินการตามนโยบาย และ 5) การประเมินผล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-17

How to Cite

บำรุง พ. . (2024). กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ: โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(1), 99–114. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/295