การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่าย โรงเรียนบ้านก้องนาแค สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

ผู้แต่ง

  • พีรญา กองพิธี คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบ้านก้องนาแค สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบ้านก้องนาแคสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 65 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน และ ครูผู้สอน จำนวน 59 คน วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบ้านก้องนาแค สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการพัฒนาหลักสูตร 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบ้านก้องนาแค สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 มีดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารวางแผนและการวิเคราะห์ การปรับปรุงหลักสูตรการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร ส่งเสริมให้ความรู้สร้างความตระหนักและความสำคัญให้กับบุคลากร โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา และมีการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและเทคนิควิธีการสอนในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผู้บริหารจัดอบรมครูเกี่ยวกับการผลิต พัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทมีความทันสมัย ตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้เรียนและพัฒนาให้เต็มศักยภาพ ด้านการวัดผลและประเมินผล ผู้บริหารส่งเสริมมีการจัดอบรมการจัดทำเครื่องมือการวัดผลประเมินผลที่ครอบคลุมและมีคุณภาพดำเนินการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างหลากหลาย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฐิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณ.

นุชเรศ คำดีบุญ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร และพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ปิยพันธ์ ศิริรักษ์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

พรรษมน พินทุสมิต. (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง) และคณะ. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 264-276.

พีรญา กองพิธี. (2566). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา, สัมภาษณ์ 22 กรฎาคม 2566.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-1919. ศิลปการจัดการ, 4(2), 783-795.

ไพลิน พิงพิทยากุล. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,

ภคพร เลิกนอก. (2564). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 7, (2), 150-161.

มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผิบริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่าย ตลิ่งชันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

รุ่งฤดี คำปัน. (2564). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย ถานศึกษาที่10 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ในฐานวิถีชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุกัญญา แก้วหล้า. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สาหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงใหม่. 8(2) 1-14.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สัมมา รธนิธย์. (2556). หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติ การบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้ง 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ข้าวฟ่างจำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2551). การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27