ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเครือข่ายภูพระบาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

ผู้แต่ง

  • ณัฐวัฒน์ แก้วแสนสินธุ์ คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหาร, แนวทางพัฒนาผู้นำ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเครือข่ายภูพระบาท 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเครือข่ายภูพระบาท ผู้ให้ข้อมูลวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 108 คน จากสถานศึกษา 15 แห่ง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน และใช้โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น 1) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะความร่วมมือ  และด้านวิสัยทัศน์ ตามลำดับ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านวิสัยทัศน์ คือ กำหนดเป้าหมายในสถานศึกษาอย่างชัดเจน เพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษา เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่  ด้านทักษะการสื่อสาร คือ ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน โดยส่งเสริมให้ บุคลากรในโรงเรียน ใช้เทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ตั้งงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ส่งเสริมให้มีบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีในสถานศึกษา และด้านทักษะความร่วมมือ คือ สถานศึกษาควรมีการประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรมต่างๆโดยการมีส่วนร่วมของ คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชนผู้ปกครอง นักเรียน รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆในสถานศึกษา

References

กรรณิกา เรดมอนด์. (2560). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

ฐิติพร หงษ์โต (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารสารสนเทศ. 16(1), 244 - 245.

ธีระ รุญเจริญ. (2559). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ธัญวิทย์ ศรีจันทร์. (2559). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิต. วิทยานิพนธ์ (อุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพดล บุญภา. (2562). การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้นำนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

นฤมล คูหาแก้ว. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ปัทฐพงษ์ สุบรรณ. (2559). บทบาทของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ต่อการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร นาคบุตรปริทรรศน์. 8(2) 101.

พรพิมล แก้วอ่อน. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนฟ้าอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรวรรษ เทียมสุวรรณ และคณะ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในสตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15 (2), 226-227.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2556). ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับ การเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

แก้วแสนสินธุ์ ณ., & อุสาโห ก. . (2023). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเครือข่ายภูพระบาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 1(2), 154–167. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/205