สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอนากลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

ผู้แต่ง

  • พิชยาภรณ์ กองพิธี คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะและแนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2  วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 50 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน และ ครูผู้สอน จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงอันดับค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริการที่ดี ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ด้านการสื่อสารและจูงใจ และด้านการมีวิสัยทัศน์  2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าควรพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา 3 ลำดับแรกดังนี้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษามีการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ด้านการสื่อสารและจูงใจ ใช้ทักษะในการการสื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับรู้และเข้าใจในงานที่ได้รับมอบหมาย และด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผู้บริหารมีความสามารถในการทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ แล้วแยกแยะประเด็นตามหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนด จัดทำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

กิตติชัย เทียนไข (2565). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,11(1).

บุญชม ศรีสะอาด. (2563). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

พงษ์พิทักษ์ นามนิตย์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัชนีกร แสงสว่าง และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2564). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2565). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 - 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการคุรุสภา. (2564). สาระความรู้ สมรรถนะ และประสบการณ์ของผู้ ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุ สภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2564). สืบค้น 20 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.nb2.go.th.

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Hellriegel, Don, Jackson, Susan E. and Slocum, John W. (2005). Management: A Competency - Based Approach (10th ed.) Singapore: Thomson South Western.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27

How to Cite

กองพิธี พ., & อุสาโห ก. . (2023). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอนากลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 1(3), 198–215. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/203