ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกันคุณภาพหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ จันทร์เทพ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ, การประกันคุณภาพ, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกันคุณภาพหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา วิเคราะห์

          ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประกันคุณภาพหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีจำนวน 6 ด้าน ได้แก่ (1) ความเหมาะสมของหลักสูตร ประกอบด้วย ควรสำรวจความต้องการ การวางแผนและออกแบบหลักสูตร การเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันอื่น ๆ วางแผนการสื่อสาร การอัปเดตและปรับปรุงหลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตร  (2) ระบบการสอนและการเรียนการสอน ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการประเมินคุณภาพ การให้ความสำคัญกับการประเมินผล การส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน การใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีการสอน และการวางแผนการสอนคณาจารย์ (3) การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย การประเมินและการพัฒนาต่อเนื่อง การสนับสนุนในการเป็นแบบอย่าง การสนับสนุนในการบริหารและพัฒนาองค์กร การส่งเสริมการพัฒนา อาจารย์ในการสอน การสนับสนุนในการวิจัย และการพัฒนาทักษะและความรู้ (4) สถานที่เรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย การสร้างสถานที่เรียนรู้เสมือนจริง การสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวก สำหรับการเรียนรู้แบบพลวัต การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และการสร้างสถานที่เรียนรู้ที่เหมาะสม (5) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ประกอบด้วย การวางแผนหลักสูตร การสร้างหลักสูตรที่น่าสนใจ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีและสื่อการเรียนรู้ และการสร้างความเชื่อมโยงกับตลาด แรงงาน (6) ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย การสร้างความสนับสนุน การสร้างความพร้อม การสร้างเครือข่าย การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ และการสร้างความเชื่อมโยงยาวนาน

References

คําเหมือน บุญพะมณี. (2555). ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณ ภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษานครหลวงเวียงจันทร์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

จินตนา เทียมทิพร และคณะ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถาบัน การพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ.

ณัฐพล เนื่องชมภู. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน วิทยาลัยทองสุข. วารสารพุทธมัคค์, 6(1), 119-129.

พรรณี คอนจอหอ. (2561). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบ และกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(2), 128-139.

รัตนา ดวงแก้ว. (2556). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประมวลสาระชุดนโยบายการแผนงานและ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. หน่วยที่ 11 หน้า 1–83, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2555). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหน้า (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนหน้ากรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการกระเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

สุภัทรา เอื้อวงศ์ และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการประกัน คุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยสยาม. การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประจำปี 2557.

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. (2566). รายงานการประเมินหลักสูตร 2566. หลักสูตรรัฐประศาสน ศาสตรดุษฎีบัณฑิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อุไร จุ้ยกาจร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานการวิจัยกองทุนส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

UNICEF. (2000). Defining Quality in Education. A Paper Presented by UNICEF at the Meeting of The International Working Group on Education Florence, Italy, June.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30