ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อก ของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

ผู้แต่ง

  • Liang Yizheng หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ชัชชัย สุจริต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • อิราวัฒน์ ชมระกา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การตัดสินใจซื้อ, แอปพลิเคชันติ๊กต็อก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดบริการและการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน และ 2. เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เคยใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อกสั่งซื้อสินค้าเกษตรหรือผลติตภัณฑ์การเกษตรในนครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 384 คน สุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการของสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยภาพรวมมีระดับส่วนประสมทางการตลาดบริการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ส่วนระดับการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาขั้นตอนการตัดสินใจซื้อพบว่า ขั้นตอนการตระหนักถึงปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นตอนการประเมินทางเลือก ขั้นตอนพฤติกรรมภายหลังการซื้อ ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ และขั้นตอนการค้นหาข้อมูล สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก ร้อยละ 44.80

References

ณัฐวรรณ เกิดมุข, พิชชาภา รักษาพันธ์, ศศิประภา อินทรักษา, สิราวรรณ ปานรอด, สุดารัตน์ ศิลปะศร และอารียานี นาลี. (2567). ส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต็อกของลูกค้าในจังหวัดเพชรบุรี. Lanna Academic Journal of Social Science, 1(2), 62–75.

ธัญชนก ยูซบ และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการเช่าอพาร์ทเม้นท์ในเขตวัฒนากรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 8(1), 67-83.

นครินทร์ ศักดิ์สูง และนลินี เหมาะประสิทธิ์. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากช้อปปี้ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 255-284.

นันทสารี สุขโต, เพ็ญสิน ชวนะคุรุ, กุลทิวา โซ่เงิน, จิราพร ชมสวน, นวพงศ์ ตัณฑดิลก, วริศรา แหลมทอง, วัลภา หัตถกิจพาณิชกุล, วีรพล สวรรค์พิทักษ์, และสมศิริ วัฒนสิน. (แปล). (2560). หลักการตลาด (Marketing: An introduction). เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า. (ต้นฉบับโดย Gary Armstrong & Philip Kotler)

ภาราดา แก้วนิยม. (2561). ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์ แบ็ก อินดีด (BAG INDEED). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รัฐบาลประชาชนเทศบาลกว่างโจว. (2567). ข้อมูลประชากรของเมืองกว่างโจว ปี 2567 (Detailed population data of Guangzhou Cityupdated to 2024). สืบค้น 20 ธันวาคม 2567 จาก http://hongheiku.com.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา และจิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2563). หลักการตลาด. นนทบุรี: ธรรมสาร.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว. (2566). ตลาดติ๊กต็อกประเทศจีน. สืบค้น 20 มกราคม 2567 จาก https://mp.weixin.qq.com/s/W-E9E_Wlg13E6wc2PQ_dZQ.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว. (2566). ตลาดผลผลิตทางการเกษตรกรรม. สืบค้น 20 มกราคม 2567 จาก https://www.ditp.go.th/overseas-office-and-honorary-trade-advisors-hta.

สำนักงานสถิติเทศบาลเมืองกว่างโจวและสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563).ติ๊กต็อกThailand. สืบค้น 20 มกราคม 2567 จากhttps://newsroom.tiktok.com/th-th/tiktok-strengthens-its-ecosystem-supporting-users-creators-and-brand-marketers-for-sustainable-growth-in-thailand.

อิราวัฒน์ ชมระกา, ชัชชัย สุจริต, ภาศิริ เขตปิยรัตน์, ศิริกานดา แหยมคง และเบญจวรรณ สุจริต. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแฟชั่นผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารลวะศรี, 6(1), 106–125.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2011). Principle of Marketing (14th ed). Pearson Education.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). Pearson Education.

Kerin, R. A. & Hartley, J. E. (2019). Marketing (4th ed). McGraw-Hill Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-04

How to Cite

Yizheng, L., สุจริต ช., & ชมระกา อ. (2025). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อก ของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 816–830. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1759