วัฒนธรรมองค์กรและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ โคตรสมบัติ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สามารถ อัยกร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, การบริหารเชิงกลยุทธ์, ประสิทธิผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กร การบริหารเชิงกลยุทธ์และประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร จำนวน 330 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.379-0.815 และค่าความเชื่อมั่น 0.869 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมองค์กรของสถานีตำรวจภูธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานีตำรวจภูธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. วัฒนธรรมองค์กร ด้านวัฒนธรรมพันธกิจ (β = 0.630) วัฒนธรรมเอกภาพ (β = 0.326) และวัฒนธรรมส่วนร่วม (β = 0.213) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 66.60 การบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (β = 0.500) ด้านการตรวจสอบภาพแวดล้อม (β = 0.389) และด้านการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ (β = 0.170) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 85.50

References

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 43 หน้า 17-20.

บัวแก้ว เก่งตรง, วิทยา สุจริตธนารักษ์ และธนกฤต โพธิ์เงิน. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(5), 17-35.

พลกฤต กิติเงิน. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายของประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่าย การปฏิบัติงานของตำรวจในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 4. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2552). การวางแผนกลยุทธ์และการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไมตรี เนติวิริยะกุล, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และละมัย ร่มเย็น. (2567). วัฒนธรรมองค์กรและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อสัมฤทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานอัยการภาค 4. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 487-506.

วิชาญ อิทธิฤกษ์มงคล. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่รอบหนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วุฒิพงษ์ พร้อมสุข. (2561). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กร คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น กลุ่มเลย 5. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศรีสกุล เจริญศรี. (2558). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. (2568). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้น 8 เมษายน 2568 จาก https://muang.sakonnakhon.police.go.th/ita-standards/informations/.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: สำนักพัฒนาระบบจําแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.).

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2568). อำนาจหน้าที่. สืบค้น 8 เมษายน 2568 จาก https://royalthaipolice.go.th/authority.php.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Denison, D. R.; Haaland, S. & Goelzer, P. (2003). Corporate Culture and Organizational Effectiveness: Is There a Similar Pattern around the World? Advances in Global Leadership, 3, 205-227.

Sergiovanni, T. J. (1988). The principal ship a reflective practice perspective (4th ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2006). Strategic Management and Business Policy: Concepts and cases (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

โคตรสมบัติ ณ., อัยกร ส., & อุดมกิจมงคล ช. (2025). วัฒนธรรมองค์กรและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 636–649. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1688