การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

ผู้แต่ง

  • ชรินรัตน์ ดาวษาวะ -
  • ชารี มณีศรี หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้โปรแกรม google form ทางอีเมล์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รองลงมา คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง และการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการรักษาวินัยและการออกจากราชการ 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารควรจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการบริหารอัตรากำลังที่มีการประชุมติดตามทุก 3 เดือน ควรพัฒนาระบบการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรมที่มีโครงสร้างคำถามและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน ควรจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิ์ขอพระราชทานเครื่องราชฯ แบบดิจิทัลแพลตฟอร์มและควรวางแผนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ก่อนเกษียณอย่างเป็นระบบ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และ วิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ญาณิศา ประสิทธิ์ผล. (2560). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐนิช ศรีลาคำ. (2558). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

พิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(2),

-57.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2566). แนวทางการบริหารจัดการศึกษา. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2567). รายงานผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2566. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เอวิกา ปราบพาลทัพพ์ และสุรางคนา มัณยานนท์ (2565). การบริหารงานบุคคโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2(1), 41-54.

Alderfer, C. P. (1969). An empirical test of a new theory of human needs. Organizational Behavior and Human Performance, 4(2), 142–175.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607–610.

McGregor, D. (1960). The human side of enterprise. New York: McGraw-Hill.

Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370–396.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

ดาวษาวะ ช., มณีศรี ช., & สร้อยนาคพงษ์ ส. (2025). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 15–25. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1470