ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคีของบุคลากรต่อองค์กร : กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศุรินภา ทุงจันทร์ -
  • เปรมฤดี ชิณวงษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • บลณิชา พลประถม คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปัจจัย;, ความผูกพัน;, ความสามัคคี;, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

                        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระดับความผูกพันและความสามัคคีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคีของบุคลากรต่อองค์กร : กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม รวมถึงศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความผูกพันและความสามัคคีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 182 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้สูตร Yamane (1973) ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานงบแผ่นดิน พนักงานงบรายได้ พนักงานจ้างประจำ และพนักงานราชการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคี โดยใช้ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณเชิงเส้นตรงด้วยวิธีการเลือกตัวแปรอิสระเข้าสมการ ผลการวิจัย พบว่า                         1. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคีของบุคลากรต่อองค์กร : กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การปกครองของผู้บังคับบัญชา รองลงมา คือ การรับรู้ค่าตอบแทนการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การมีส่วนร่วมในงาน  รองลงมาคือ โอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในงาน และอยู่ในระดับน้อย 1 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน                      2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า มหาวิทยาลัยฯ ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากร และความก้าวหน้าในตำแหน่งงานเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดสวัสดิการ เช่นบ้านพักอาศัย หรือค่าเบี้ยเลี้ยงในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน มหาวิทยาลัยฯ ควรส่งเสริมบุคลากรให้ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ผู้บังคับบัญชาควรให้ความไว้ใจและมีความเป็นภาวะผู้นำ ความเสียสละ และความมีน้ำใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้น มหาวิทยาลัยควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรภายในให้เหมาะสมและมากกว่าเดิม และผู้บังคับบัญชาควรเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้แสวงหาแหล่งศึกษาดูงานตามที่ต้องการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-23