การบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

กันตินันท์ จัตุรัส
สมิตา กลิ่นพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาแบบกรณีเดียว วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาถึงประสิทธิภาพและการจัดการของกรมวิชาการเกษตรที่ทำให้คุณภาพของทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมแก่การส่งออก 2) ศึกษาถึงปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทำให้คุณภาพของทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมแก่การส่งออก และ 3) นำข้อมูลที่ได้นำมาพัฒนาการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและเลือกเก็บข้อมูลจากเกษตรกรชาวสาวทุเรียนและพนักงานของกรมวิชาการเกษตรในจังหวัดจันทบุรีด้วยการบันทึกเสียง และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 10 คน มีอาชีพเป็นเกษตรกร จำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร จำนวน 2 คน จากการให้ข้อมูลของผู้ให้สัมภาษณ์ พบว่าการบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี มี 3 แนวทางด้วยกัน อันประกอบไปด้วย 1) การส่งออกทุเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบขนส่ง ล้งที่รับซื้อ การตรวจเปอร์เซ็นต์แป้ง และการบำรุงผลผลิต 2) ปัจจัยการผลิตทุเรียน มีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และเคมีภัณฑ์ 3) การบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียน โดยมีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แหล่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของภาครัฐเป็นผู้ให้ข้อมูล และการตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลและแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanthaburi Provincial Office. (2022). Chanthaburi Province Development Plan 2018-2022. Retrieved from http://www.chanthaburi.go.th/frontpage

Community Development Promotion and Support Department. (2021). Digital Economy Promotion Agency. Retrieved from https://www.depa.or.th/en/home

Dechphuang, N., & Chaiprasit, K. (2018). Relationship of Internal and External Factors Affecting Durian Exports to the People's Republic of China. Eau Heritage Journal Social Science and Humanities, 8(1), 333-340.

Department of Agriculture. (2022). History of the Department of Agriculture. Bangkok: Horticulture Research Institute.

Department of International Trade Negotiations. (2014). Obstacles to Export of Thai Durian.

Retrieved from www.ryt9.com.

Ngamlert, K. (2016). Motivation affecting to performance efficiency of staffs in public warehouse organization (Independent study). Retrieved from http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2222/3/kaidnarin_ngar.pdf

Noisamran, S. (2015). Adaptation of fruit export entrepreneurs in Chiang Khong District Chiang Rai to the opening of the 4th Friendship Bridge (Unpublished Master’s thesis). Siam University, Bangkok.

Office of Agricultural Economics. (2022). Product information in 2017-2021. Retrieved from https://www.oae.go.th/

Phokhao, N. (2022). Botanical characteristics of durian trees. Retrieved from http://www.expertdoa.com/km_plant_info.php?ProductID=12

Suantako, K. (2016). Effects on fresh durian exports from Thailand to the People's Republic of China. Under Sanitary and Phytosanitary Measures (SPS) (Master’s thesis). Retrieved from https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:139474

The Agricultural Research Development Agency (Public Organization). (2022). Durian Durian: planting and care. Retrieved from https://www.arda.or.th/

The Customs Department. (2022). Quantity and Price of Durian. Retrieved from www.customs.go.th

Wheelen, T.L., & Hunger, J.D. (2006). Strategic Management and Business Policy. New Jersey: Prentice Hall.