การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทย หลังการแพร่ระบาดโคโรน่าไวรัส 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทย ในช่วงก่อนและหลังการแพร่ระบาดโคโรน่าไวรัส 2019 ทำการเก็บข้อมูลงบการเงินในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2565 จากฐานข้อมูลออนไลน์ SETSMART โดยแบ่งกลุ่มสถาบันการเงินออกเป็น 3 หมวดย่อยตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด ได้แก่ 1) ธนาคาร 2) บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ 3) บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์ จำนวน 5 มิติ ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์สภาพคล่อง การวิเคราะห์โครงสร้างทางการเงิน การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ และการวิเคราะห์มูลค่าตลาดของหุ้น งานวิจัยฉบับนี้มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา โดยการทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรด้วยสถิติ T-Test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา มีเพียงอัตราส่วนเดียว คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม ที่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงก่อนและหลังสถานการณ์โควิด-19 และผลจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และผลตอบแทนเป็นตัวแปรตาม อัตราส่วนที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญของอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น คือ อัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อหนี้สินรวม กำไรต่อหุ้น และราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาในวารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ สามารถนำผลงานไปใช้เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไร
References
Anpruang, J. (2020). The Relationship Between Profitability Ratios and Stock Returns of The Listed Companies in Stock Exchange of The Listed Companies in Stock Exchange of Thailand: Technology Group (Unpublished Master’s thesis). Sripatum University, Chonburi. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8016
Bank of Thailand. (2023). Covid 19 crisis. Retrieved from https://www.bot.or.th/th/our-roles/special-measures/covid-19.html
Bhamornsathit, S., & Prachit, H. (2023). The Impact of COVID-19 Pandemic on Financial Performance of the Hotel Companies Listed on the Stock Exchange of Thailand. Kasam Bundit Journal, 24(1), 65-78. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/264703.
Cheamuangphan, A. (2000). Crisis of Thai Financial Institutions from Past to Present. Journal of Economics, Chiang Mai University, 4(1), 23-35. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/99998
Jensen, M. C., & Meckling, W. H. (1979). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs, and ownership structure (pp.163-231). Springer Netherlands.
Kongpon, R., Sriviroj, S., & Visedsun, N. (2023). The Performance of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand Various Industry Groups during the Period of the COVID 2019 Pandemic. Business Administration and Economics Review, 19(2), 87–109. Retrieved from https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/368
Myers, S. C. (1984). The Capital Structure Puzzle. Journal of finance, 39(3), 575-592.
Sektrakul, K. (2013). Financial Statement Analysis. Retrieved from https://weblink.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1472551305959.pdf
Songjarean, P. (2021). The Relationship between financial ratios and return on assets of listed companies in the Stock Exchange of Thailand. Rajapark Journal, 15(38), 30–41. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/248084
Vimol, C., & Jaroenwariyakul, S. (2023). The Impacts Of Financial Ratio On The Stock Prices In Communication Technology Sector In Stock Exchange Of Thailand (Unpublished Master’s thesis). Sripatum University, Chonburi. https://so09.tci-thaijo.org/index.php/PMR/article/view/2703