องค์ประกอบทางการตลาด และคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัยในประเทศไทย

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางการตลาด และคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัยในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ ผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัยในกลุ่มสินค้าต่างๆสำหรับผู้สูงวัยทั้ง 5 กลุ่ม จำนวน 400 คน โดยใช้การแจกแบบสอบถาม และนำสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์แบบสอบถาม ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 30 – 39 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลาของธุรกิจที่เปิดดำเนินการจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ มีอายุ 5 – 10 ปี ประเภทของธุรกิจที่ดำเนินการส่วนใหญ่เป็นประเภทเจ้าของคนเดียว จำนวนพนักงานในธุรกิจ น้อยกว่า 20 คน รายได้ของธุรกิจเฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 1 ล้านบาท ปัจจัยองค์ประกอบทางการตลาดที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัย สรุปได้ดังนี้ ปัจจัยในทุกด้านขององค์ประกอบทางการตลาดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านสินค้า ได้แก่ สินค้ามีคุณภาพน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของสินค้าระบุชัดเจน ด้านราคา ได้แก่ โดยเฉพาะราคาสินค้าเหมาะสมกับระดับคุณภาพสินค้า มีความเห็นระดับมากที่สุด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ ในช่องทางจัดจำหน่ายมีพนักงานให้ข้อมูลกับผู้ซื้อ ด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การใช้พนักงานแนะนำที่มีความรู้เรื่องสินค้า ปัจจัยคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัย สรุปได้คือ ปัจจัยคุณลักษณะของผู้ประกอบการทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจที่เกิดจากปัญหาในงานด้านการมีไอเดียสร้างนวัตกรรม ได้แก่ การมีความคิดในการนำสินค้าใหม่มาจำหน่าย ด้านการยอมรับความเสี่ยง ได้แก่ การรับทราบว่ามีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ด้านความสามารถในการจัดการ ได้แก่ การรับฟังความคิดเห็น ของทุกคนในกิจการ ด้านความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน ได้แก่ การสำรวจความต้องการของลูกค้าและผู้ร่วมค้าอยู่เสมอ ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าผู้สูงวัย สามารถสรุปได้ดังนี้ ด้านสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยโดยรวมในระดับมากที่สุด ได้แก่ การให้ความสำคัญในการคัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ และการนำสินค้าสภาพใหม่ไม่หมดอายุมาจำหน่าย ด้านการมีส่วนร่วมจากพนักงาน เห็นด้วยโดยรวมในระดับมาก ได้แก่ การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน ด้านการตอบสนองความต้องการให้ลูกค้า เห็นด้วยโดยรวมในระดับมาก ได้แก่ การรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าเสมอ ด้านการส่งเสริมสิ่งใหม่และความคิดสร้างสรรค์ เห็นด้วยโดยรวมในระดับมาก ได้แก่ การกำหนดนโยบายเป้าหมายชัดเจนในการเพิ่มยอดขาย และด้านความสำเร็จทางด้านการเงิน เห็นด้วยโดยรวมในระดับมาก ได้แก่ ธุรกิจมีปรับลดค่าใช้จ่ายในงานได้ในปีที่ผ่านมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sriviboon, C. et al., (2011). Building a trademark of Samut Songkarm province. Suan Sunandha Rajabhat University.

Fry et al., (1998) referred in Katetien, W (2013). Characteristics of entrepreneur that affects the success of medium size business in the south of northeast region. Rajamangala University

of Technology Isan Campus.

Karsawai, F., Pooncharoen, N. and Jamornmarn, W (2012). The study of successful entrepreneurs’ characteristics who are successful in managing hotel business in the south of northen Thailand.

Hong Mai Her (2014). Characteristics of entrepreneur and the success of exported Cassava business from Thailand to China of SMEs.

Kittiwutthikrai, M. and Chaiwaneeyakorn, M (2015). The effects of risk management that affect the success of SMEs in Mukdaharn. Ubon Ratchathani University.

Jaijune, N (2016). Brand image and brand value that affects the decision making process in purchasing food supplement products of customers in Bangkok area. Bangkok University.

Chaisena, N (2018). The development of logistics products on handicraft earthernware in Koh Kret. Nonthaburi.

Paengkesorn, R (2008). The use of direct marketing media to enhance hotel business in Thailand.

Kongrat, T (2017). Factors of creativity management and personal ability which lead to the organization’s innovation: the case study of large car tires manufacturer in Thailand.

Ratchakrit, T (2019). The use of SMART concept to set clear and effective goals for the organization. https://th.hrnote.asia/orgdevelopment

Tangpradit, W (2017). Factors that affect the success in self-management of local community: the case study of Uthaikao, Nong Chang, Uthaithani province.

http://www.aseanthai.net